วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2011 (อังกฤษ: FIVB World Grand Prix 2011) เป็นการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงจากการคัดเลือกจากทวีปต่างๆ ทั้งหมด 16 ประเทศ
วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2011 |
รายละเอียด |
เจ้าภาพ | มาเก๊า มาเก๊า อีสเอเชียนเกมส์ โดม |
วันที่ | 5–28 สิงหาคม |
ทีม | 16 |
สนาม | 1 (ใน 1 เมืองเจ้าภาพ) |
ทีมชนะเลิศ | สหรัฐ (สมัยที่ 4) |
ผู้เล่นทรงคุณค่า | ดาสไทนีย์ ฮุคเกอร์ (USA) |
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-28 สิงหาคม 2554 รอบชิงชนะเลิศ จะจัดขึ้นที่มาเก๊า อีสเอเชียนเกมส์โดม, เขตบริหารพิเศษมาเก๊า, สาธารณรัฐประชาชนจีน
หลังจบการแข่งขันครั้งนี้ ทีมชาติไทยจบที่อันดับ 6 ได้คะแนนสะสมเพิ่ม 25 คะแนน อันดับโลกของทีมไทยจึงขยับจากอันดับ 14 ขึ้นไปเป็นอันดับที่ 10 ของโลก
การคัดเลือก
- ทีมที่สามารถเข้ามาแข่งขันเวิลด์กรังปรีซ์ ต้องผ่านโควตาของแต่ละทวีป ดังนี้
ทวีปยุโรป | ทวีปอเมริกา | ทวีปเอเชีย |
|
|
|
ปฏิทินการแข่งขัน
สัปดาห์ที่ 1
5–7 สิงหาคม 2554 |
กลุ่ม A:
บึดกอชตช์, โปแลนด์ | กลุ่ม B:
นครปฐม, ไทย | กลุ่ม C:
ปูซาน, เกาหลีใต้ | กลุ่ม D:
ลั่วเหอ, จีน |
|
|
|
|
สัปดาห์ที่ 2
12–14 สิงหาคม 2554 |
กลุ่ม E:
แชลอนากูรา, โปแลนด์ | กลุ่ม F:
อัลมาตี, คาซัคสถาน | กลุ่ม G:
กว่างโจว, จีน | กลุ่ม H:
โคะมะกิ, ญี่ปุ่น |
|
|
|
|
สัปดาห์ที่ 3
19–21 สิงหาคม 2554 |
กลุ่ม I:
ฮ่องกง | กลุ่ม J:
ฮ่องกง | กลุ่ม K:
กรุงเทพมหานคร, ไทย | กลุ่ม L:
โตเกียว, ญี่ปุ่น |
|
|
|
|
สัปดาห์ที่ 4
รอบสุดท้าย
24–28 สิงหาคม 2554 |
เขตบริหารพิเศษมาเก๊า สาธารณรัฐประชาชนจีน |
รอบคัดเลือก
ตารางคะแนนการแข่งขัน
สัปดาห์ที่ 1
กลุ่ม A
กลุ่ม B
วันที่ | | แต้ม | | เซ็ท 1 | เซ็ท 2 | เซ็ท 3 | เซ็ท 4 | เซ็ท 5 | รวม |
5 Aug | รัสเซีย  | 3–1 | คิวบา | 24–26 | 25–18 | 25–23 | 25–20 | | 99–87 |
5 Aug | ไทย  | 3–0 | เปรู | 25–20 | 25–13 | 25–16 | | | 75–49 |
6 Aug | เปรู  | 0–3 | รัสเซีย | 12–25 | 9–25 | 14–25 | | | 35–75 |
6 Aug | คิวบา  | 2–3 | ไทย | 25–23 | 25–17 | 26–28 | 23–25 | 10–15 | 109–108 |
7 Aug | เปรู  | 0–3 | คิวบา | 24–26 | 19–25 | 22–25 | | | 65–76 |
7 Aug | รัสเซีย  | 3–0 | ไทย | 25–18 | 25–19 | 27–25 | | | 77–62 |
กลุ่ม C
กลุ่ม D
สัปดาห์ที่ 2
กลุ่ม E
กลุ่ม F
กลุ่ม G
กลุ่ม H
สัปดาห์ที่ 3
กลุ่ม I
กลุ่ม J
กลุ่ม K
กลุ่ม L
รอบสุดท้าย
กลุ่ม A
| แต้ม | แมทช์ | เซ็ท | แต้ม |
อันดับ | ทีม | ชนะ | แพ้ | ชนะ | แพ้ | อัตราส่วน | ชนะ | แพ้ | อัตราส่วน |
1 | รัสเซีย | 8 | 3 | 0 | 9 | 3 | 3.000 | 281 | 252 | 1.115 |
2 | เซอร์เบีย | 6 | 2 | 1 | 7 | 4 | 1.750 | 259 | 234 | 1.107 |
3 | ไทย | 3 | 1 | 2 | 4 | 7 | 0.571 | 246 | 250 | 0.984 |
4 | จีน | 1 | 0 | 3 | 3 | 9 | 0.333 | 230 | 280 | 0.821 |
กลุ่ม B
| แต้ม | แมทช์ | เซ็ท | แต้ม |
อันดับ | ทีม | ชนะ | แพ้ | ชนะ | แพ้ | อัตราส่วน | ชนะ | แพ้ | อัตราส่วน |
1 | บราซิล | 9 | 3 | 0 | 9 | 1 | 9.000 | 248 | 200 | 1.240 |
2 | สหรัฐ | 5 | 2 | 1 | 7 | 5 | 1.400 | 273 | 261 | 1.046 |
3 | ญี่ปุ่น | 3 | 1 | 2 | 3 | 6 | 0.500 | 197 | 215 | 0.916 |
4 | อิตาลี | 1 | 0 | 3 | 2 | 9 | 0.222 | 216 | 258 | 0.837 |
รอบชิงอันดับที่ 7
วันที่ | | คะแนน | | เซท 1 | เซท 2 | เซท 3 | เซท 4 | เซท 5 | รวม | รายงาน |
27 Aug | จีน  | 2–3 | อิตาลี | 13–25 | 25–14 | 25–22 | 16–25 | 10–15 | 89–101 | [19] |
รอบชิงอันดับที่ 5
วันที่ | | คะแนน | | เซท 1 | เซท 2 | เซท 3 | เซท 4 | เซท 5 | รวม | รายงาน |
27 Aug | ไทย  | 0–3 | ญี่ปุ่น | 14–25 | 23–25 | 23–25 | | | 60–75 | [20] |
รอบรองชนะเลิศ
รอบชิงอันดับที่ 3
รอบชิงชนะเลิศ
วันที่ | | คะแนน | | เซท 1 | เซท 2 | เซท 3 | เซท 4 | เซท 5 | รวม | รายงาน |
28 Aug | สหรัฐ  | 3–0 | บราซิล | 26–24 | 25–20 | 25–21 | | | 76–65 | [24] |
การถ่ายทอดสด
สรุปการแข่งขัน
|
ผู้ชนะการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์กรังปรีช์ 2011 |
 สหรัฐ ชนะเลิศสมัยที่ 4 |
|
รางวัล
- บล็อกยอดเยี่ยม:
ปลื้มจิตร ถินขาว (THA)
|
- ทำคะแนนสูงสุด:
อรอุมา สิทธิรักษ์ (THA)
|
ที่สุดของเวิลด์กรังปรีช์ 2011
ที่สุดของเวิลด์กรังปรีช์ 2011 จากเว็บไซต์วอลเลย์บอลไทยแลนด์.คอม
- สะใจคนไทยที่สุด - ไทยชนะจีน อดีตมหาอำนาจเบอร์ 1 ลูกยาง ของเอเชีย คาบ้าน 3-1 ชนิดที่ว่า จีนไปไม่เป็นเลยทีเดียว และไทยจบที่อันดับ 6 ของการแข่งขัน ซึ่งเป็นอันดับสูงที่สุดที่ไทยเคยทำได้
- สะใจแฟนวอลเลย์บอลมากที่สุด - ก่อนการแข่งขัน ทีมเต็งลำดับต้นๆที่คาดว่าจะคว้าแชมป์รายการนี้ไปครองคือ บราซิลทีมอับดับ 1 ของโลก และรัสเซีย แชมป์โลกจากรายการเวิลด์แชมป์เปียนส์ชิพครั้งล่าสุด แต่ในรอบชิงชนะเลิศ กลับกลายเป็นทีมสหรัฐอเมริกา ที่สามารถเอาชนะบราซิลไปได้ 3-0 เซต ทั้งๆที่ 2 วันก่อนหน้านั้น อเมริกาเพิ่งจะแพ้บราซิลมา 1-3 เซต
- เจ็บใจที่สุด - ยกให้ทีมบราซิล ทีมอันดับ 1 ของโลก และเต็ง 1 ของรายการ ที่ชนะรวดมาตั้งแต่รอบแรก เก็บ 27 คะแนนเต็ม ก่อนจะคว่ำทุกทีม เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ แต่กลับมาพลิกพ่ายให้กับทีมสหรัฐอเมริกา แชมป์ปีที่แล้วไป 0-3 เซต
- ประทับใจที่สุด - ยกให้กับทีมเซอร์เบีย ที่แม้จะเข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งแรก และถูกจัดให้อยู่ใน Group of Death ในรอบแรก ทั้ง 3 สัปดาห์ แต่ก็สามารถทำผลงานได้ดี และจบการแข่งขันที่อันดับ 3 ด้วยชัยชนะเหนือรัสเซีย 3-0 เซต
- น่าผิดหวังที่สุด - ยกให้ทีมรัสเซีย ทั้งๆที่อุดมไปด้วยนักวอลเลย์บอลดีๆมากมาย รวมทั้ง มีลีกภายในประเทศที่แข็งแกร่ง เป็นทีมเต็งที่จะได้แชมป์ แต่กลับทำผลงานไม่น่าประทับใจเอาเสียเลย แพ้ให้กับเกาหลีใต้ และญี่ปุ่นในรอบแรก ก่อนที่จะแพ้ให้กับเซอร์เบียแบบหมดรูปในนัดชิงที่ 3 คว้าอันดับ 4 ไปครองอย่างน่าผิดหวัง
- น่าใจหายที่สุด - ยกให้ทีมเยอรมนี ที่เข้ามาแข่งขันครั้งนี้ในฐานะแชมป์ยุโรป แต่กลับทำผลงานได้เพียงแค่อันดับ 13 จาก 16 ทีม เท่านั้น ด้วยชัยชนะเหนือเปรูทีมอันดับสุดท้ายทั้งสองนัด ทีมเดียว
- หมดท่าที่สุด - ยกให้ทีมเปรูกับผลงานแพ้รวด 9 นัด เก็บมาได้เพียง 1 เซตจากเยอรมนี ต้องพบกับเสียงก่นด่าของแฟนๆในประเทศตั้งแต่นัดแรกที่เจอกับไทย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่กี่เดือนเปรูชนะไทยมาแล้วในแมทช์กระชับมิตรละตินคัพ และผลงานไม่ดีขึ้นจนถึงนัดสุดท้าย จบการแข่งขันที่อันดับสุดท้าย พร้อมๆกับข่าวการแยกทางของโค้ชอิตาลีเพิ่งจะเข้ามาคุมทีมได้ไม่นาน
- ช้ำที่สุด - ยกให้ทีมจีน หลังจากแพ้ไทยในรายการชิงแชมป์เอเชีย ปี 2009 ทำให้กระแสความนิยมตกต่ำลงมากอย่างน่าใจหาย แม้จะพยายามปรับเปลี่ยนอย่างหนักท่ามกลางแรงกดดันจากทั้ง แฟนๆวอลเลย์บอล สมาคมวอลเลย์บอลของประเทศ และผู้บริหารระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปกครองประเทศจีน เปลี่ยนโค้ชมาถึงสามคน รวมทั้งเสริมผู้เล่นหน้าใหม่เข้าไปในทีมอีกหลายคน แต่กลับทำผลงานได้อย่างไม่ประทับใจกองเชียร์ โดยเฉพาะการแข่งขันในรอบสุดท้าย ที่ไม่ชนะทีมใดเลย ทำได้เพียงอันดับ 8 เท่านั้น และที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ การที่ทีมจีนแพ้ทีมไทยไปอีกครั้ง 1-3 เซต ทำให้กัปตันทีม เว่ยชิวยี่ และนักกีฬาในทีม ต้องเสียน้ำตาครั้งใหญ่
- ลุ้นที่สุด - ยกให้กับการเข้ารอบสุดท้ายของทีมไทย ที่ต้องรอลุ้นผลจนถึงคู่สุดท้ายของรอบแรก ก่อนที่โปแลนด์จะแพ้จีน ไม่สามารถทำคะแนนแซงไทยเพื่อเข้ารอบสุดท้ายไปได้
- น่าเสียดายที่สุด - ยกให้กับทีมโปแลนด์ ที่แฟนวอลเลย์บอลๆต่างเห็นตรงกันว่า อยู่ในสายที่อ่อนที่สุดตลอดทั้งสามสัปดาห์ และเล่นในบ้านตัวเองถึงสองสนาม แทบจะเรียกได้ว่า เข้ารอบสุดท้ายไปแล้วครึ่งตัวตั้งแต่ก่อนแข่ง โดยเฉพาะในสนามสุดท้าย ที่อยู่ร่วมกลุ่มกับจีน คาซัคสถาน และโดมินิกัน ซึ่งหากชนะโดมินิกันได้ ก็จะการันตีการผ่านเข้ารอบค่อนข้างแน่นอน แต่กลับพลาดท่าแพ้ไป 2-3 เซต ทำให้ต้องมาลุ้นจนถึงนัดสุดท้าย และสถานการณ์บังคับให้ต้องชนะจีนให้ได้เท่านั้น ก่อนจะพ่ายจีน 0-3 ตกรอบแรกไปท่ามกลางความดีใจของแฟนวอลเลย์บอลไทย
- หญิงเดี่ยวที่สุด - ยกให้กับ คิมยองคุง ของเกาหลีใต้ ที่คิดอะไรไม่ออก บอกคิม ตีไม่ได้ บอลแก้ไข โยนให้คิม คิมจัดให้ จนผู้เล่นคนอื่นๆในทีม เป็นเพียงไม้ประดับเท่านั้น
- ล้าหลังที่สุด - ยกให้กับทีมคิวบา ที่แม้ว่าจะอุดมไปด้วยผู้เล่นที่มีฝีมือ และมีการบุกที่หนักหน่วง แต่กลับยังคงเล่นสไตล์เดิมๆที่เคยได้ผลเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ทั้งๆที่ในปัจจุบันนี้ วงการวอลเลย์บอลมีการพัฒนาไปอย่างมาก ทำให้เก็บชัยชนะไปได้เพียง 2 นัด ต่อ เปรู และอาร์เจนตินาเท่านั้น
- วิกิพีเดีย
No comments:
Post a Comment