วอลเลย์บอล ข่าว ผลกีฬา

Monday, September 30, 2019

(124) วอลเลย์บอลสัพเพเหระ : จีน เจ้าหญิงเวิลด์คัพ - ย้อนรอย ทำไม...ญี่ปุ่นผูกขาดการเป็นเจ้าภาพวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ - จูถิง หัวเสายอดเยี่ยม & MVP

(124) วอลเลย์บอลสัพเพเหระ
( จีน เจ้าหญิงเวิลด์คัพ - ย้อนรอย ทำไม...ญี่ปุ่นผูกขาดการเป็นเจ้าภาพวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ

- จูถิง หัวเสายอดเยี่ยม & MVP )
กำเนิดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพประเทศอุรุกวัย คือ ต้นธารจัดการแข่งขันในปี 1973

อุรุกวัย สร้างประวัติศาสตร์ให้โลกต้องจดจำ
อุรุกวัย เมื่อทำคลอดจัดการแข่งขันรายการวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 1973 เสร็จเรียบร้อย

หลังจากปี 1973 จวบจนถึงปัจจุบันปี 2019 
เชื่อหรือไม่ 
อุรุกวัยไม่เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้อีกเลย

การดิ้นรนเพื่อกลับมาของอุรุกวัย 
ล้วนมีชาติมหาอำนาจแห่งทวีปอเมริกาใต้ 
เช่น บราซิล เปรู อาร์เจนตินา โคลอมเบีย 
เป็นก้างขวางคอในการกลับมาเล่นในรายการนี้
อีก 4 ปี ต่อมา ปี 1977 เจ้าภาพจัดการแข่งขัน ถูกเปลี่ยนมือด้วยอิทธิพลของเงินเยน 
ญี่ปุ่นสวมบทบาท เดอะเซนต์ (Saint) นักบุญแห่งวงการวอลเลย์บอลโลก

ยื่นมือแบกกระเป๋าเงินเยนใบมหึมา 
เพื่อแสดงความพร้อมในการจัดการแข่งขัน 
เพื่อให้รายการนี้ ไปต่อได้

ญี่ปุ่น จัดการแข่งขันได้สำเร็จในปี 1977 
ท่ามกลางความปลาบปลื้มปิติยินดีของชาวญี่ปุ่น และความโล่งอกของ FIVB

สนามแข่งขันเนืองแน่นไปด้วยผู้ชม สปอนเซอร์จากภาครัฐและเอกชนให้การอุดหนุนส่งเสริมให้รายการนี้ยิ่งใหญ่

ปลายทางแห่งความสำเร็จ หยุดที่...นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงชาวญี่ปุ่น ประกาศศักดาครองความยิ่งใหญ่ ด้วยการคว้าแชมป์เวิลด์คัพ 1977 เป็นครั้งแรก ในบ้านของตนเอง
ค.ศ.1977 ตรงกับ พ.ศ.2520
ตั้งแต่ปี 1977 ชุดความคิดครองโลกด้วยการกีฬาของญี่ปุ่น เริ่มถักทอความแข็งแกร่งใยงใยครอบคลุมไปทุกวงการกีฬาทุกประเภท

การขยายอาณาจักรทางด้านกีฬา บ่งสะท้อนถึงภาวะผู้นำของประเทศญี่ปุ่น
อดีตโอลิมปิกครั้งแรกปี 1964 กรุงโตเกียวเป็นเจ้าภาพ 
อีก 10 ปีต่อมา การพัฒนาการทางด้านกีฬาของญี่ปุ่นเจริญรุดหน้าก้าวไกลสู่ระดับโลก
เมื่อครั้งแรก กับการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์คัพ ปี 1977 สิ้นสุดลง

ญี่ปุ่นไม่ยอมคายอำนาจการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ด้วยอิทธิพลของ 2 ส 2 ค

2 ส คือใคร

1. สปอนเซอร์ ญี่ปุ่นมีสปอนเซอร์กองเท่าภูเขาไฟฟูจิ นี่คือคำเปรียบเปรย ข่มขวัญคู่แข่งที่จะแหลมเข้ามาเปิดประมูลสู้จัดการแข่งขันแข่งกับญี่ปุ่น

2.สนามแข่งขัน ญี่ปุ่นผ่านการจัดโอลิมปิกมาหมาดๆเมื่อปี 1964 ความพร้อมมาตรฐานของสนามจัดการแข่งขันอยู่ในระดับความพร้อมสูงสุด FIVB พร้อมการันตีรับรองคุณภาพ

ในยุคนั้น ความพร้อมของแต่ละประเทศ ล้วนมีข้อจำกัด 
การจะคิดการใหญ่โต เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
คุณสมบัติของ 2 ส แทบจะปิดประตูปิดทางให้ชาติอื่นเข้ามาเป็นเจ้าภาพได้

2 ค คือใคร

1.คนดู ญี่ปุ่นปลูกฝังให้ชาวญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัย รักในการออกกำลังกาย รักการกีฬา รักการดูกีฬา
โรงเรียนทุกระดับชั้น จะเน้นสุขภาพของเด็กๆต้องมาก่อน เมื่อสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ความวิตกกังวลเรื่องโรคภัยก็หมดไป การเติมหัวเชื้อทางด้านวิชาการ จึงเป็นเรื่องหมูมากสำหรับชาวญี่ปุ่น

2.คอนเนคชั่น ยุคเริ่มต้นของวงการกีฬาวอลเลย์บอล
FIVB หรือ สหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ ก่อตั้งปี 1947 ญี่ปุ่นเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม การส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน การส่งตัวแทนเป็นคณะทำงานให้ FIVB

เพราะฉะนั้น บุคคลสำคัญในแวดวงกีฬา 
ญี่ปุ่นจึงมีสายสัมพันธ์พิเศษ มีสัมพันธภาพที่ดี เชื่อมโยงเป็นใยแมงมุมขนาดใหญ่ 
การล็อบบี้ยิสต์กระทำได้โดยง่าย และประการสุดท้าย ญี่ปุ่นมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ด้วยอิทธิพลของ 2 ส 2 ค จึงทำให้ญี่ปุ่น กลายเป็นนักบุญแห่งวงการวอลเลย์บอลระดับโลก

มีสปอนเซอร์น้อยใหญ่มากหน้าหลายตา ให้การสนับสนุนวงการวอลเลย์บอลญี่ปุ่น 
เพื่อจุดประสงค์ให้ทางสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น ผ่านความช่วยเหลือให้กับสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลประเทศต่างๆในรูปแบบ การช่วยเหลือทางตรงและทางอ้อม

1.ทางตรง สนับสนุนทางด้านงบประมาณในการพัฒนาวงการวอลเลย์บอล

2.ทางอ้อม สนับสนุนผ่านการให้บริจาค เสื้อผ้า อุปกรณ์ฝึกซ้อม สนามฝึกซ้อม โครงการแลกเปลี่ยนการฝึกซ้อม การแข่งขันกระชับมิตร การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี่ การแลกเปลี่ยนโค้ช การอบรมดูงาน การท่องเที่ยวในวาระพิเศษ การซื้อตัว - ยืมตัวนักกีฬา เป็นต้น

ทั้งหมดทั้งมวล ที่ญี่ปุ่นสร้างสะสมมายาวนาน ผ่านการช่วยเหลือทั้งทางตรงและทางอ้อม ย้อนกลับมาเป็นอานิสงส์ของญี่ปุ่น

ทำให้ นักบุญอยากได้อะไร จึงทำให้ทุกชาติที่ได้รับความช่วยเหลือ ต้องเกรงอกเกรงใจกันเป็นของธรรมดา

หัวข้อสนทนา ทำไม วอลเลย์บอลรายการสำคัญต่างๆ ส่วนมากจัดที่ประเทศญี่ปุ่น 
ไม่ใช่ คนไทยเท่านั้น ที่กังขาข้อสงสัย คนชาติอื่นเค้าก็กังขาข้อสงสัยเหมือนกับเราเช่นเดียวกัน
ข้อสงสัย ไม่ต้องวิตกกังวลอีกต่อไป ตราบใดที่เรายังไม่มีความพร้อมเท่ากับประเทศญี่ปุ่น

กาลเวลาต่อมา ญี่ปุ่นจึงกลายเป็นตำนานในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์คัพเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

รายการนี้ ญี่ปุ่นรับเหมาเป็นเจ้าภาพผูกขาดจัดการแข่งขัน นับตั้งแต่ครั้งที่สองปี 1977- 2019 รวมเบ็ดเสร็จ จัดการแข่งขันในฐานะเจ้าภาพ จำนวน 12 ครั้ง
หมุนเข็มนาฬิกา ย้อนไปสู่อดีต
ปี 1973 ตรงกับ พ.ศ.2516 นับถึงปีปัจจุบัน 2019 ถ้วยรายการนี้มีความเก่าแก่ร่วม 46 ปี

ไทยสร้างผลงานดีที่สุดในปี 2007 จบอันดับ10 จาก 12 ชาติ 
ด้วยเป็นการแข่งขันครั้งแรกและครั้งเดียวที่มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขัน
ย้อนรอยอดีตวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ

ครั้งที่ 1
การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ
 1973 จำนวน 10 ทีม
ระหว่างวันที่ 19-28 ตุลาคม 1973
 ประเทศอุรุกวัย

ทีมชนะเลิศ สหภาพโซเวียต สมัย 1
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 เปรู
ครั้งที่ 2 การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 1977

 ประเทศญี่ปุ่น

ทีมชนะเลิศ ญี่ปุ่น
รองชนะเลิศ คิวบา
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 จีน
ครั้งที่ 3 การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 1981

จำนวน 8 ทีม
ระหว่างวันที่ 6-16 พฤศจิกายน 1981
เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น

ทีมชนะเลิศ จีน สมัย 1
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 สหภาพโซเวียต
อันดับ 4 สหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 4 การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 1985

จำนวน 8 ทีม
ระหว่างวันที่ 10-20 พฤศจิกายน 1985
ประเทศญี่ปุ่น

ทีมชนะเลิศ จีน สมัย 2
รองชนะเลิศ คิวบา
อันดับ 3 สหภาพโซเวียต
ครั้งที่ 5 การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 1989

จำนวน 8 ทีม 
ระหว่างวันที่ 7-14 พฤศจิกายน 1989
 ประเทศญี่ปุ่น

ทีมชนะเลิศ คิวบา
รองชนะเลิศ สหภาพโซเวียต
อันดับ 3 จีน
ครั้งที่ 6 การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 1991

จำนวน 12 ทีม
ระหว่างวันที่ 8-17 พฤศจิกายน 1991
ประเทศญี่ปุ่น

ทีมชนะเลิศ คิวบา
รองชนะเลิศ จีน
อันดับ 3 สหภาพโซเวียต
ครั้งที่ 7 การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 1995

จำนวน 12 ทีม
ระหว่างวันที่ 3-17 พฤศจิกายน 1995
 ประเทศญี่ปุ่น

ทีมชนะเลิศ คิวบา
รองชนะเลิศ บราซิล
อันดับ 3 จีน
ครั้งที่ 8 การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 1999

จำนวน 12 ทีม 
ระหว่างวันที่  2-16 พฤศจิกายน 1999
 ประเทศญี่ปุ่น

ทีมชนะเลิศ คิวบา
รองชนะเลิศ รัสเซีย
อันดับ 3 บราซิล
ครั้งที่ 9 การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 2003

 ประเทศญี่ปุ่น

ทีมชนะเลิศ จีน สมัย 3
รองชนะเลิศ บราซิล
อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 10 การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 2007

จำนวน 12 ทีม
ระหว่างวันที่ 2-16 พฤศจิกายน 2007
 ประเทศญี่ปุ่น

ทีมชนะเลิศ อิตาลี
รองชนะเลิศ บราซิล
อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 11 การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 2011

จำนวน 12 ทีม 
ระหว่างวันที่ 4-18 พฤศจิกายน 2011
ประเทศญี่ปุ่น

ทีมชนะเลิศ อิตาลี
รองชนะเลิศ สหรัฐอเมริกา
อันดับ 3 จีน
ครั้งที่ 12 การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 2015

จำนวน 12 ทีม
ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม - 6 กันยายน 2558
ประเทศญี่ปุ่น

ทีมชนะเลิศ จีน สมัย 4
รองชนะเลิศ เซอร์เบีย
อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 13 เวิลด์คัพ 2019 เดินทางมาถึง
แข่งขันกันระหว่างวันที่ 14-29 กันยายน 2562 ประเทศญี่ปุ่น

เวิลด์คัพในอดีต 
จะเป็นการแข่งขันเพื่อคัดเลือกทีมเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลง
FIVB คัดเลือก 10 ทีม จาก 5 ทวีป  โดยยึดตามอันดับคะแนนสะสมโลก ทวีปละ 2 ทีม บวกกับเจ้าภาพ และทีมแชมป์โลก รวมเป็น 12 ทีม

เวิลด์คัพ ระบบการแข่งขันแบบพบกันหมด 
ทีมละ 11 นัด ทีมที่มีคะแนนมากที่สุด ครองถ้วยชนะเลิศ

การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงเวิลด์คัพ 2019 
ได้ทำการแข่งขันจบสิ้นลงเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2562

ผลปรากฎว่า 
จีน ตัวแทนจากทวีปเอเชีย 
สร้างสถิติโลกในรายการนี้ขึ้นมาใหม่ ด้วยการเป็นแชมป์เวิลด์คัพมากที่สุด 5 สมัย

อันดับการแข่งขัน

     1.จีน

     2.สหรัฐอเมริกา

     3.รัสเซีย

     4.บราซิล

     5.ญี่ปุ่น

     6.เกาหลีใต้

     7.สาธารณรัฐโดมินิกัน

     8.เนเธอร์แลนด์

     9.เซอร์เบีย

     10.อาร์เจนตินา

     11.เคนยา

     12.แคเมอรูน
สรุปแชมป์วอลเลย์บอลเวิลด์คัพ ปี 1973-2019

อันดับ 1 จีน แชมป์ 5 สมัย
อันดับ 2 คิวบา แชมป์ 4 สมัย
อันดับ 3 อิตาลี แชมป์ 2 สมัย
อันดับ 4 รัสเซีย แชมป์ 1 สมัย รองแชมป์ 2 สมัย   อันดับสาม 4 สมัย
อันดับ 5 ญี่ปุ่น แชมป์ 1 สมัย รองแชมป์ 2 สมัย  อันดับสาม 0 สมัย
อันดับ 9 เกาหลีใต้ อันดับสาม 2 สมัย
ไทย เข้าร่วมแข่งขันครั้งแรกและเป็นครั้งเดียว ปี 2007 จบอันดับ 10 จาก 12 ชาติ
รางวัลบุคคล

หัวเสายอดเยี่ยม 1.จูถิง จีน  
2.เคลซี โรบินสัน สหรัฐอเมริกา
บอลเร็วยอดเยี่ยม 1.อิรินา โคโรเลวา รัสเซีย 
2.เหยียนหนี่ จีน
เซตยอดเยี่ยม ติงเซีย จีน
บีหลังยอดเยี่ยม อันเดรีย ดรูวส์ สหรัฐอเมริกา
ตัวรับอิสระยอดเยี่ยม หวัง เหมิงเจี๋ย จีน
ผู้เล่นทรงคุณค่า MVP จูถิง จีน




No comments:

Post a Comment