(120) วอลเลย์บอลสัพเพเหระ
( อิหร่าน แชมป์สมัย 3 ฉายแสงราชันย์วอลเลย์บอล
สยบ ออสเตรเลีย 3-0 เซต อาเมียร์ กาโฟร์ สตาร์อิหร่านคว้ารางวัลบีหลังยอดเยี่ยม - สรุปวอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชีย 2019 วันที่ 21 กันยายน 2562)
ย้อนกลับไปวันที่ 15 กันยายน 2562
การแข่งขันรอบแรกของกลุ่ม A
อิหร่าน รับบทบาท เป็นผู้พ่ายแพ้ ต่อ ออสเตรเลีย 1-3 เซต 25-22 23-25 21-25 21-25 คะแนน
อย่าลืมว่า วันที่ 15 กันยายน 2562 คือ การแข่งขันนัดสุดท้ายของรอบแรก
อิหร่าน มีคะแนนนำ 6 คะแนน
ออสเตรเลีย มี 5 คะแนน
เกมในนัดสุดท้าย อิหร่านและออสเตรเลีย ลอยลำเข้าสู่รอบสองทั้งคู่
ต่างฝ่ายต่างเล่นให้ครบโปรแกรม
ชื่อชั้นของทั้งสองทีม
ผ่านเข้าไปเล่นในรอบที่สอง สามารถต่อกรกับคู่ต่อสู้ได้ทั้งหมด
เมื่อ ออสเตรเลีย เป็นฝ่ายชนะ อิหร่าน
ทำให้ ออสเตรเลีย มี 8 คะแนน ขึ้นนำเป็นจ่าฝูงกลุ่ม
อิหร่าน มี 6 คะแนนเท่าเดิม รั้งรองจ่าฝูง
สงครามครั้งแรก อิหร่าน พ่ายแพ้ในสมรภูมิ
เล่าความหลังสตอรี่ของ อิหร่าน กับ ออสเตรเลียในการทำศึกรอบแรก
เนื่องจากทั้งคู่อยู่กลุ่มเดียวกัน
การเป็นนักรบที่ชาญฉลาด อาจจะรบไม่เก่งในวันนี้
แต่วันข้างหน้า ถ้ามีโอกาสปะทะกันอีกครั้ง
การวางหมากแก้เกม อาจเล็งเห็นผลได้ในบั้นปลายสมรภูมิ
อิหร่าน และ ออสเตรเลีย ผจญภัยในระหว่างทางข้างหน้า ต้องผ่านด่าน เสือ สิงห์ กระทิง แรด อาทิ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ล้วนระดับพระกาฬของเอเชียทั้งสิ้น
สุดท้ายอิหร่าน กับ ออสเตรเลีย ต่างหลุดรอดจากการผจญภัยที่โหดร้ายมาได้
ต้องโคจรมาพบกันอีกครั้งในรอบชิงชนะเลิศ
ผู้ชนะในวันแรก ใช่ว่า จะเป็นผู้ที่เก่งที่สุด
ผู้ชนะในวันสุดท้ายต่างหาก คือผู้ที่เก่งที่สุด
อิหร่านคว้าชัยชนะในศึกชิงแชมป์เอเชีย 2019
เพิ่มสถิติเป็นแชมป์ 3 สมัย
ก้าวขึ้นมาเทียบเท่า จีน
อนาคต 10 สมัยข้างหน้า (2021-2039)
เชื่อได้ว่า
อิหร่าน จะค่อยๆแซงเกาหลีใต้
และทำสถิติไล่จี้ก้นญี่ปุ่น
อิหร่านเป็นชนชาติที่มีสรีระร่างกายสูงใหญ่
เด็กสร้างรุ่นใหม่รอวันเติบใหญ่ และทดแทนรุ่นพี่ได้ตลอดเวลา
สายป่านนักกีฬาวอลเลย์บอลทีมอิหร่านเยอะมากไม่ขาดสาย
ประดุจพรมเปอร์เซียที่วางเรียงรายทอดยาวไปทั่วโลก
สงครามจบสิ้นลง ท่ามกลางสถิติเกิดขึ้นใหม่
ญี่ปุ่นแชมป์ 9 สมัย
ปี 1975 1983 1985 1991 1995 2005 2009 2015 และ 2017
เกาหลีใต้ แชมป์ 4 สมัย
ปี 1989 1993 2001 และ 2003
จีน แชมป์ 3 สมัย
ปี 1979 1997 และ 1999
อิหร่าน แชมป์ 3 สมัย
ปี 2011 2013 และ 2019
ออสเตรเลีย แชมป์ 1 สมัย ปี 2007
สรุป 8 ทีม ที่ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันคัดเลือกโอลิมปิก 2020
โซนทวีปเอเชีย
ระหว่างวันที่ 7-12 มกราคม 2563
เมืองเจียงเหมิน ประเทศจีน
1.อิหร่าน
2.ออสเตรเลีย
3.เกาหลีใต้
4.ไต้หวัน
5.จีน
6.ปากีสถาน
7.อินเดีย
8.กาตาร์
สรุปผลการแข่งขัน
วันที่ 8 ของการแข่งขัน
วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2562
รอบชิงชนะเลิศ
อิหร่าน ชนะ ออสเตรเลีย 3-0 เซต 25-14 25-17 25-21 คะแนน
รอบชิงอันดับ 3
ญี่ปุ่น ชนะ เกาหลีใต้ 3-1 เซต 25-23 25-17 23-25 25-22 คะแนน
รอบชิงอันดับ 5
ไต้หวัน ชนะ จีน 3-1 เซต 25-16 23-25 25-20 25-16 คะแนน
รอบชิงอันดับ 7
ปากีสถาน ชนะ อินเดีย 3-2 เซต 25-23 25-21 20-25 19-25 15-6 คะแนน
รางวัลบุคคล
หัวเสายอดเยี่ยม 1. อิชิกาว่า ยูกิ ญี่ปุ่น
2. ซามูเอล วอลเกอร์ ออสเตรเลีย
บอลเร็วยอดเยี่ยม 1. ชิน ยอง ซ็อก เกาหลีใต้
2. ซาเย็ด มูซาวี อิหร่าน
บีหลังยอดเยี่ยม อาเมียร์ กาโฟร์ อิหร่าน
เซตยอดเยี่ยม มีร์ ซาอี๊ด มารูฟ อิหร่าน
ตัวรับอิสระยอดเยี่ยม ยามาโมโตะ โทโมฮิโระ ญี่ปุ่น
ผู้เล่นทรงคุณค่า (MVP) โธมัส เอ็ดการ์ ออสเตรเลีย
อิหร่านทีมชนะเลิศ เหมา 3 รางวัล
ออสเตรเลียทีมรองชนะเลิศ เหมา 2 รางวัล
ญี่ปุ่น ทีมอันดับสาม เหมา 2 รางวัล
เกาหลีใต้ ทีมอันดับสี่ 1 รางวัล
อันดับการแข่งขัน
1. อิหร่าน
2. ออสเตรเลีย
3. ญี่ปุ่น
4. เกาหลีใต้
5. ไต้หวัน
6. จีน
7. ปากีสถาน
8. อินเดีย
9. กาตาร์
10. คาซัคสถาน
11. ไทย
12. อินโดนีเซีย
13. โอมาน
14. ศรีลังกา
15. คูเวต
16. ฮ่องกง
สรุปผลงานทีมไทย (1987-2019)
ครั้งที่ 1 ปี 1987 อันดับ 14
ครั้งที่ 2 ปี 1989 อันดับ 15
ครั้งที่ 3 ปี 1991 อันดับ 9
ครั้งที่ 4 ปี 1993 อันดับ 7
ครั้งที่ 5 ปี 1995 อันดับ 7
ครั้งที่ 6 ปี 1997 อันดับ 11
ครั้งที่ 7 ปี 2003 อันดับ 10
ครั้งที่ 8 ปี 2005 อันดับ 5
ครั้งที่ 9 ปี 2007 อันดับ 6
ครั้งที่ 10 ปี 2009 อันดับ 13
ครั้งที่ 11 ปี 2011 อันดับ 10
ครั้งที่ 12 ปี 2013 อันดับ 6
ครั้งที่ 13 ปี 2015 อันดับ 8
ครั้งที่ 14 ปี 2017 อันดับ 11
ครั้งที่ 15 ปี 2019 อันดับ 11
No comments:
Post a Comment