วอลเลย์บอล ข่าว ผลกีฬา

Saturday, August 17, 2019

(83) วอลเลย์บอลสัพเพเหระ : 7 เซียน ราชินีวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย - เปิดรายชื่อแชมป์เอเชียปี 2009 ปี 2013 รองแชมป์ปี 2017 และชุดปัจจุบันปี 2019 พร้อมโปรแกรมการแข่งขัน ตอนที่ 3 จบ

(83) วอลเลย์บอลสัพเพเหระ
(7 เซียน ราชินีวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย

- เปิดรายชื่อแชมป์เอเชียปี 2009 ปี 2013 รองแชมป์ปี 2017 และชุดปัจจุบันปี 2019 พร้อมโปรแกรมการแข่งขัน ตอนที่ 3 จบ)
บทบาทของ 7 เซียนที่เกาะกลุ่มกันติดทีมชาติชุดใหญ่มายาวนาน 
สร้างผลงาน สร้างความสำเร็จให้กับวงการวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน

รุ่นน้า รุ่นพี่ เดินป่าเบิกทางถางหญ้าให้เกิดถนนวอลเลย์บอลสายชิงแชมป์เอเชีย นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1975 (พ.ศ.2518) เรื่อยมาจนถึงมือรุ่นน้องมารับช่วงต่อ

แม้ว่า ในยุคที่ 1 ยุคเปลี่ยนข้างเสิร์ฟ ปี 1975-1997 รุ่นน้า รุ่นพี่ ไม่เคยมีใครได้ขึ้นแท่นโพเดียมรับเหรียญรางวัล ได้แต่เฉียดไปเฉียดมาคว้าอันดับที่สี่ถึง 2 ครั้งในปี 1993 1995 
วันนี้ รุ่นน้า รุ่นพี่ในยุคที่ 1 สังขารโรยรา เป็นไปตามกฏธรรมชาติ

รุ่นน้องที่ได้รับการยอมรับและถูกขนานนามว่า รุ่น 7 เซียน ได้มาต่อยอดความสำเร็จผสมผสานกับสายเลือดใหม่ ในยุคที่ 2 ระบบแรลลี่พอยต์ปี 1999 - ปัจจุบัน

ทายาท 7 เซียนรุ่นที่ 2 ยังเกาะติดไม่เหนียวแน่นเท่ารุ่นที่ 1 ด้วยเหตุผลหลักคืออาการบาดเจ็บที่เข้ามารบกวน การกระจัดกระจายกันในการติดทีมชาติชุดใหญ่ทำให้ไม่ทรงพลังเท่ากับ 7 เซียนรุ่น 1

7 เซียนรุ่น 1 พาเหรดกันติดทีมชาติชุดใหญ่แบบยกแผงหรือเหมาเข่งมายาวนานเกินกว่า 1 ทศวรรษ เกือบจะแทบทุกรายการ

ยกเว้นปี 2017 ที่น้องหก อรอุมา สิทธิรักษ์ กับ มลิกา กันทอง น้องเจ็ดน้องเล็กคนสุดท้ายของ 7 เซียนที่เกิดอาการบาดเจ็บ

ถ้าน้องหก อรอุมา สิทธิรักษ์และน้องเจ็ด มลิกา กันทอง ไม่มีอาการบาดเจ็บ ยากที่ใครจะเบียดแทรกเข้ามาติดทีมชาติได้

พี่ใหญ่ วรรณา บัวแก้ว ประกาศล้างมือในอ่างทองคำปี 2016 และก้าวขึ้นมาเป็นผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย

น้องสี่ อำพร หญ้าผา ล่าสุดประกาศล้างมือในอ่างทองคำก่อนการแข่งขันคัดเลือกโอลิมปิก 2020 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา

7 เซียนในวันนี้ โพยจากเจ้าสำนักระบุว่า สมาชิกออริจินอลคงเหลือจำนวน 5 คน ยังคงโลดแล่นท่องยุทธจักรกัดกินเกาะเน็ตวอลเลย์บอลเพื่อหลอกหลอนคู่ต่อสู้ต่อไป

สุดยอดกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ตำนาน 7 เซียนวอลเลย์บอลที่ยิ่งใหญ่และยังมีลมหายใจ

ข้าน้อยขอคารวะ 3 จอก
ในรายการเบอร์ใหญ่ของวงการวอลเลย์บอลระดับเอเชีย มีเพียง 2 รายการที่ได้รับการยอมรับและมีประวัติศาสตร์ ในการก่อกำเนิดมาอย่างยาวนาน นั่นคือ

1.รายการวอลเลย์บอลเอเชี่ยนเกมส์ 
มหกรรมกีฬาของชาวเอเชียที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นรองกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น 
กำเนิดการแข่งขันครั้งแรกปี ค.ศ.1950 (พ.ศ.2493) ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย 
ครั้งล่าสุดครั้งที่ 18 ปี 2018 เมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย 
ซึ่งสาวไทยทำผลงานดีที่สุดคือการคว้าเหรียญเงินประวัติศาสตร์จากการเข้าแข่งขันในครั้งนี้

2.การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย กำเนิดการแข่งขันครั้งแรกปี ค.ศ.1975 (พ.ศ.2518) ณ กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย 
ครั้งล่าสุดกำลังจะมาถึงคือครั้งที่ 19 ปี 2019 วันที่ 18-25 สิงหาคม 2562 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
ทั้ง 2 รายการ 7 เซียนมีบทบาทใกล้ชิดเสมอมา แต่ที่ ปัง ที่สุดคือ ศึกวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย

ผลงานของสาวไทย ปี 1975-2017

ปี 2001 จ.นครราชสีมา เหรียญทองแดงประวัติศาสตร์
ปี 2007 จ.นครราชสีมา เหรียญทองแดง
ปี 2009 กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เหรียญทอง สมัยที่ 1
ปี 2013 จ.นครราชสีมา เหรียญทอง สมัยที่ 2
ปี 2015 เมืองเทียนจิน ประเทศจีน เหรียญทองแดง
ปี 2017 เมืองเมโทรมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เหรียญเงิน
สรุปอันดับเหรียญรางวัล
1.จีน 13 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง
2.ญี่ปุ่น 4 เหรียญทอง 7 เหรียญเงิน 6 เหรียญทองแดง
3.ไทยแลนด์ 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน 3 เหรียญทองแดง
4.เกาหลีใต้ 7 เหรียญเงิน 9 เหรียญทองแดง
5.คาซัคสถาน 1 เหรียญเงิน

พัฒนาการของทีมไทยปี 2013 2015 และ 2017 สาวไทยขึ้นแท่นโพเดียมรับเหรียญรางวัลคล้องคอติดต่อกัน 3 สมัยซ้อน
7 เซียนจากยุควัยแรกแย้ม ก้าวสู่ยุคถ่ายเทเลือดใหม่ ศึกชิงแชมป์เอเชียปี 2017 เป็นการผสมผสาน ระหว่างสายเลือดเก่ายุค 7 เซียน นำโดยปลื้มจิตร ถินขาว วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ นุศรา ต้อมคำ ผสมกับสายเลือดใหม่ ชัชชุอร โมกศรี พิมพิชยา ก๊กรัมย์ อัจฉราพร คงยศ พรพรรณ เกิดปราชญ์ หัตถยา บำรุงสุข ปิยะนุช แป้นน้อย ก่อเกิดเหรียญเงินครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ดอกไม้ที่สวยที่สุดในยุคเก่า ย่อมตราตรึงคนในยุคนั้น และแล้ววันหนึ่งดอกไม้ที่สวยที่สุดในยุคใหม่ เข้ามาแทนที่ ย่อมตราตรึงคนในยุคปัจจุบัน มันคือ สัจธรรม

เราก็ได้แต่หวังว่า ดอกไม้สายพันธุ์ใหม่ จะสร้างความสุขส่งกลิ่นหอมอบอวลในโลกวอลเลย์บอลไทยตลอดไป
* บันทึกรายชื่อนักกีฬารุ่นประวัติศาสตร์เหรียญทองปี 2009

1.วรรณา บัวแก้ว
2.ปลื้มจิตร์ ถินขาว
3.วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์
4.อำพร หญ้าผา
5.นุศรา ต้อมคำ
6.อรอุมา สิทธิรักษ์
7.มลิกา กันทอง
8.เอ็มอร พานุสิทธิ์
9.กมลพร สุขมาก
10.อุทัยวรรณ แก่นสิงห์
11.วณิชยา หล่งทองหลาง
12.ฐาปไพพรรณ ไชยศรี

ทีมงาน
นายเกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร หัวหน้าผู้ฝึกสอน
นาวาอากาศตรีณัฐพนธ์ ศรีสมุทรนาค ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
นายดนัย ศรีวัชรเมธากุล ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
* บันทึกรายชื่อนักกีฬารุ่นประวัติศาสตร์เหรียญทองปี 2013

1 วรรณา บัวแก้ว
2.ปลื้มจิตร ถินขาว
3.วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์
4.อำพร หญ้าผา
5.นุศรา ต้อมคำ
6. อรอุมา สิทธิรักษ์
7.มลิกา กันทอง
8.ฐาปไพพรรณ ไชยศรี
9.พรพรรณ เกิดปราชญ์
10.ทัดดาว นึกแจ้ง
11.อัจฉราพร คงยศ
12.สนธยา แก้วบัณฑิต
13.ปิยะนุช แป้นน้อย

ทีมงาน
นายเกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร หัวหน้าผู้ฝึกสอน
นาวาอากาศตรีณัฐพนธ์ ศรีสมุทรนาค ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
นายดนัย ศรีวัชรเมธากุล ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
* บันทึกรายชื่อนักกีฬารุ่นประวัติศาสตร์เหรียญเงินปี 2017

1.ปลื้มจิตร์ ถินขาว
2.วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์
3.นุศรา ต้อมคำ
4.หัตถยา บำรุงสุข
5.จรัสพร บรรดาศักดิ์
6.อัจฉราพร คงยศ
7.ชัชชุอร โมกศรี
8.พิมพิชยา ก๊กรัมย์
9.ฐาปไพพรรณ ไชยศรี
10.วิภาวี ศรีทอง
11.พรพรรณ เกิดปราชญ์
12.ฑิชาญา บุญเลิศ
13.สุพัตรา ไพโรจน์
14.ปิยะนุช แป้นน้อย
สุดท้าย เชียร์นักกีฬาหญิงทีมชาติไทยชุดชิงแชมป์เอเชีย ปี 2019 
ในการแข่งขัน SMM วอลเลย์บอลหญิง ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 20 ปี 2019 
กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ 
ระหว่างวันที่ 18-25 สิงหาคม 2562
รายชื่อนักกีฬา

1.ปลื้มจิตร ถินขาว
2.วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ 
3.นุศรา ต้อมคำ
4.อรอุมา สิทธิรักษ์
5.มลิกา กันทอง
6.ฑิฆัมพร ช้างเขียว
7.ชัชชุอร โมกศรี
8.ปิยะนุช แป้นน้อย
9.วัชรียา นวลแจ่ม
10.พรพรรณ เกิดปราชญ์
11.ทัดดาว นึกแจ้ง
12.ฑิชากร บุญเลิศ
13.วณิชยา หล่วงทองหลาง
14.ยุพา สนิทกลาง
ทีมงาน

นายสมชาย ดอนไพรยอด ผู้จัดการทีม
นายดนัย ศรีวัชรเมธากุล หัวหน้าผู้ฝึกสอน
นาวาอากาศโท ณัฐพนธ์ ศรีสมุทรนาค ผู้ฝึกสอน
นายชำนาญ ดอกไม้ ผู้ฝึกสอน
นางสาววรรณนา บัวแก้ว ผู้ฝึกสอน
นายแพทย์ พิเชษฐ์ เยี่ยมศิริ แพทย์ประจำทีม
นายถาวร กมุทศรี นักวิทยาศาสตร์การกีฬา
นางสาวทิพย์รัตน์ แก้วใส นักกายภาพบำบัด
โปรแกรมการแข่งขัน SMM วอลเลย์บอลหญิง ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 20 ปี 2019 
ระหว่างวันที่ 18-25 สิงหาคม 2562 
กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

กลุ่ม A

1. เกาหลีใต้
2. อิหร่าน
3. ฮ่องกง

กลุ่ม B
1. ญี่ปุ่น
2. คาซัคสถาน
3. ออสเตรเลีย
4. อินเดีย

กลุ่ม C
1. ไทย
2. ไต้หวัน
3. นิวซีแลนด์

กลุ่ม D
1. จีน
2. อินโดนีเซีย
3. ศรีลังกา
โปรแกรมการแข่งขัน

วันที่ 18 สิงหาคม 2562
สนามจัมซิล อินดอร์ ยิมเนเซียม
กลุ่ม B
09.30 น. ออสเตรเลีย พบ คาซัคสถาน
กลุ่ม เอ
12.00 น. อิหร่าน พบ เกาหลีใต้ (SMMTV ถ่ายทอดสด)
กลุ่ม C
14.30 น. ไทย พบ ไต้หวัน (ไทยรัฐทีวี, SMMTV ถ่ายทอดสด)
จัมซิล สติวเดนท์ส ยิมเนเซียม
กลุ่ม B
12.00 น. ญี่ปุ่น พบ อินเดีย
กลุ่ม C
14.30 น. จีน พบ ศรีลังกา
วันที่ 19 สิงหาคม 2562
สนามจัมซิล อินดอร์ ยิมเนเซียม
กลุ่ม B
12.00 น. ญี่ปุ่น พบ คาซัคสถาน
กลุ่ม D
14.30 น. จีน พบ อินโดนีเซีย (ไทยรัฐทีวี, SMMTV ถ่ายทอดสด)
กลุ่ม A
17.00 น. เกาหลีใต้ พบ ฮ่องกง (SMMTV ถ่ายทอดสด)
จัมซิล สติวเดนท์ส ยิมเนเซียม
กลุ่ม B
14.00 น. อินเดีย พบ ออสเตรเลีย
กลุ่ม C
16.30 น. นิวซีแลนด์ พบ ไต้หวัน
วันที่ 20 สิงหาคม 2562
จัมซิล อินดอร์ ยิมเนเซียม
กลุ่ม B
12.00 น. ญี่ปุ่น พบ ออสเตรเลีย
14.30 น. คาซัคสถาน พบ อินเดีย (SMMTV ถ่ายทอดสด)
กลุ่ม C
17.00 น. ไทย พบ นิวซีแลนด์ (ไทยรัฐทีวี, SMMTV ถ่ายทอดสด)
จัมซิล สติวเดนท์ส ยิมเนเซียม
กลุ่ม A
12.00 น. ฮ่องกง พบ อิหร่าน
กลุ่ม D
16.30 น. อินโดนีเซีย พบ ศรีลังกา

ปี 2013 2015 และปี 2017 สาวไทยขึ้นแท่นยืนบนโพเดียมรับเหรียญรางวัลติดต่อกัน 3 สมัย

ปี 2019 สาวไทยจะสร้างผลงานได้ดีเพียงใด
ต้องติดตามชม

No comments:

Post a Comment