(95) วอลเลย์บอลสัพเพเหระ
(เปิดสถิติ ไทย VS ญี่ปุ่น ในศึกวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย)
ปี ค.ศ.1975 ตรงกับ พ.ศ.2518
ปีกำเนิดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชียครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ณ กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
สาวไทยสร้างผลงานครองแชมป์เอเชีย 2 สมัย
เป็นรองจีนแชมป์ 13 สมัย และญี่ปุ่น 4 สมัย
สำหรับเกาหลีใต้เพื่อนรักไม่เคยรู้จักคำว่า แชมป์ ในรายการนี้
สาวไทยถ้าชนะญี่ปุ่นได้ในวันนี้ จะกลายเป็นแชมป์เอเชียสมัยที่ 3
จี้ก้นตามสถิติของญี่ปุ่นแชมป์เอเชีย 4 สมัย
ตารางเหรียญการแข่งขัน (1975-2017)
1.จีน 13 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง
2.ญี่ปุ่น 4 เหรียญทอง 7 เหรียญเงิน 6 เหรียญทองแดง
3.ไทยแลนด์ 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน 3 เหรียญทองแดง
ไทยเป็นเจ้าภาพมาแล้ว 5 ครั้ง 5 สมัย
ปี 1991 กรุงเทพมหานคร
ปี 1995 จ.เชียงใหม่
ปี 2001 จ.นครราชสีมา
ปี 2007 จ.นครราชสีมา
ปี 2013 จ.นครราชสีมา
มากที่สุดกว่าทุกชาติ
จีนเจ้าภาพ 4 ครั้ง ฮ่องกง 3 ครั้ง
เวียดนามและฟิลิปปินส์ 2 ครั้ง
ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ไต้หวันและเกาหลีใต้เจ้าภาพคนละ 1 ครั้ง
ประวัติศาสตร์การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย
ต้นกำเนิดการจัดการแข่งขันครั้งแรก
กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
ในปี 1975 มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันเพียง 5 ประเทศ
ประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ไทยเข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรก ปี 1987 ในครั้งที่ 3 ของการจัดการแข่งขันและไม่เคยขาดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (1987-2019) รวม 17 ครั้ง
ญี่ปุ่น เข้าร่วมการแข่งขันครบทุกครั้ง ตั้งแต่ครั้งแรกปี 1975-2019 รวมจำนวน 20 ครั้ง
ย้อนรอยอดีตวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย ระหว่าง ไทย กับ ญี่ปุ่น
ครั้งที่ 1 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1975 จำนวน 5 ทีม
ระหว่างวันที่ 17-28 สิงหาคม 1975
เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียเจ้าภาพ
ไทยไม่ได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
ญี่ปุ่นส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ ญี่ปุ่น
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 จีน
ครั้งที่ 2 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1979 จำนวน 7 ทีม
ระหว่างวันที่ 7-14 สิงหาคม 1979
ฮ่องกงเจ้าภาพ
ไทยไม่ได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
ญี่ปุ่นส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีน
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
ครั้งที่ 3 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1983 จำนวน 9 ทีม
ระหว่างวันที่ 10-17 พฤศจิกายน 1983
เมืองฟุกุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่นเจ้าภาพ
ไทยไม่ได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
ญี่ปุ่นส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ ญี่ปุ่นสมัยที่ 2
รองชนะเลิศ จีน
อันดับ 3 เกาหลีใต้
ครั้งที่ 4 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1987 จำนวน 11 ทีม
ระหว่างวันที่ 6-14 มิถุนายน 1987
เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนเจ้าภาพ
ไทยส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันเป็นครั้งแรก
ญี่ปุ่นส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
ไม่ได้พบกัน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 2
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 นิวซีแลนด์
อันดับ 5 ไทย
ครั้งที่ 5 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1989 จำนวน 10 ทีม
ระหว่างวันที่ 30 กันยายน-8 ตุลาคม 1989
ฮ่องกงเจ้าภาพ
ไทยส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
ญี่ปุ่นส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
ไทยกับญี่ปุ่นไม่ได้พบกัน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 3
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 ญี่ปุ่น
อันดับ 4 จีนไทเป
อันดับ 5 เกาหลีเหนือ
อันดับ 6 ไทย
ครั้งที่ 6 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1991 จำนวน 14 ทีม
ระหว่างวันที่ 14-21 กันยายน 1991 กรุงเทพมหานครเจ้าภาพ
ไทยส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
ญี่ปุ่นส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
ไทยกับญี่ปุ่นไม่ได้พบกัน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 4
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 เกาหลีเหนือ
อันดับ 5 จีนไทเป
อันดับ 6 ออสเตรเลีย
อันดับ 7 ไทย
ครั้งที่ 7 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1993 จำนวน 14 ทีม
ระหว่างวันที่ 24-30 กรกฎาคม 1993
เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนเจ้าภาพ
ไทยกับญี่ปุ่นไม่ได้พบกัน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 5
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 ไทย
ครั้งที่ 8 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1995 จำนวน 9 ทีม
ระหว่างวันที่ 25 กันยายน-2 ตุลาคม 1995
จังหวัดเชียงใหม่เจ้าภาพ
รอบชิงชนะเลิศ 4 ทีม
วันที่ 2 ตุลาคม 1995
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 0-3 เซต (ไม่มีข้อมูลผลคะแนน)
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 6
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 ญี่ปุ่น
อันดับ 4 ไทย
ครั้งที่ 9 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1997 ครั้งที่ 9 จำนวน 9 ทีม
ระหว่างวันที่ 21-28 กันยายน 1997
กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์เจ้าภาพ
ไทยกับญี่ปุ่นไม่ได้พบกัน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 7
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 ญี่ปุ่น
อันดับ 4 จีนไทเป
อันดับ 5 ไทย
ครั้งที่ 10 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1999 จำนวน 9 ทีม
ระหว่างวันที่ 21-26 กันยายน 1999
ฮ่องกงเจ้าภาพ
วันที่ 19 กันยายน 1991
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 1-3 เซต
25-22 18-25 17-25 17-25 คะแนน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 8
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 ญี่ปุ่น
อันดับ 4 ไทย
ครั้งที่ 11 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2001 จำนวน 9 ทีม
ระหว่างวันที่ 23-30 กันยายน 2001
จ.นครราชสีมาเจ้าภาพ
รอบรองชนะเลิศ
วันที่ 27 กันยายน 2001
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 1-3 เซต 22-25 31-29 19-25 17-25 คะแนน
รอบชิงอันดับ 3
วันที่ 30 กันยายน 2001
* ไทย ชนะ ญี่ปุ่น 3-2 เซต
25-20 25-21 16-25 19-25 19-17 คะแนน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 9
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 ไทย
อันดับ 4 ญี่ปุ่น
ครั้งที่ 12 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2003 จำนวน 10 ทีม
ระหว่างวันที่ 20-27 กันยายน 2003
นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามเจ้าภาพ
วันที่ 20 กันยายน 2003
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 0-3 เซต
18-25 23-25 15-25 คะแนน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 10
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 ไทย
รอบชิงอันดับ 3
ครั้งที่ 13 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2005 จำนวน 12 ทีม
ระหว่างวันที่ 1-8 กันยายน 2005
เมืองไท่ฉาง ประเทศจีนเจ้าภาพ
ไทยกับญี่ปุ่นไม่ได้พบกัน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 11
รองชนะเลิศ คาซัคสถาน
อันดับ 3 ญี่ปุ่น
อันดับ 4 เกาหลีใต้
อันดับ 5 จีนไทเป
อันดับ 6 ไทย
ครั้งที่ 14 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2007 จำนวน 13 ทีม
ระหว่างวันที่ 5-13 กันยายน 2007
จ.นครราชสีมาเจ้าภาพ
วันที่ 12 กันยายน 2007
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 2-3 เซต
25-19 25-27 18-25 25-23 11-15 คะแนน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ ญี่ปุ่นสมัยที่ 3
รองชนะเลิศ จีน
อันดับ 3 ไทย
อันดับ 4 เกาหลีใต้
* ครั้งที่ 15 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2009
จำนวน 14 ทีม
ระหว่างวันที่ 5-13 กันยายน 2009
สนามกวนเงือ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนามเจ้าภาพ
รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอฟ
วันที่ 9 กันยายน 2009
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 0-3 เซต
16-25 15-25 20-25 คะแนน
รอบรองชนะเลิศ
วันที่ 12 กันยายน 2009
* ไทย ชนะ ญี่ปุ่น 3-1 เซต
20-25 25-13 25-23 25-21 คะแนน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ ไทยสมัยที่ 1
รองชนะเลิศ จีน
อันดับ 3 ญี่ปุ่น
อันดับ 4 เกาหลีใต้
ครั้งที่16 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2011 จำนวน 14 ทีม
ระหว่างวันที่ 15-23 กันยายน 2011
กรุงไทเป ประเทศไต้หวันเจ้าภาพ
ไทยส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
ญี่ปุ่นส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน
รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอฟ
วันที่ 19 กันยายน 2011
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 0-3 เซต
23-25 21-25 19-25 คะแนน
รอบรองชนะเลิศ
วันที่ 22 กันยายน 2011
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 2-3 เซต
13-25 25-20 18-25 25-23 13-15 คะแนน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 12
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 ไทย
* ครั้งที่ 17 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2013 จำนวน 16 ทีม
ระหว่างวันที่ 13-21 กันยายน 2013
จ.นครราชสีมาเจ้าภาพ
รอบจัดอันดับ กลุ่มอี
วันที่ 16 กันยายน 2013
*ไทย ชนะ ญี่ปุ่น 3-1 เซต
25-15 25-23 23-25 30-28 คะแนน
รอบชิงชนะเลิศ
วันที่ 21 กันยายน 2013
*ไทย ชนะ ญี่ปุ่น 3-0 เซต
25-22 25-18 25-17 คะแนน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ ไทยสมัยที่ 2
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 จีน
ครั้งที่ 18 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2015
จำนวน 14 ทีม
ระหว่างวันที่ 20-28 พฤษภาคม 2015
เมืองเทียนจิน ประเทศจีนเจ้าภาพ
รอบ 8 ทีม
วันที่ 26 พฤษภาคม 2015
*ไทย ชนะ ญี่ปุ่น 3-0 เซต
25-16 25-15 25-14 คะแนน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 13
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 ไทย
อันดับ 4 จีนไทเป
อันดับ 5 เวียดนาม
อันดับ 6 ญี่ปุ่น
ครั้งที่ 19 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2017 จำนวน 14 ทีม
ระหว่างวันที่ 9-17 สิงหาคม 2017
เมืองเมโทรมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์เจ้าภาพ
รอบจัดอันดับ
วันที่ 14 สิงหาคม 2017
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 1-3 เซต
25-22 20-25 22-25 24-26 คะแนน
รอบชิงชนะเลิศ
วันที่ 17 สิงหาคม 2017
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 2-3 เซต
28-26 25-20 16-25 16-25 7-15 คะแนน
อันดับการแข่งขัน
ทีมชนะเลิศ ญี่ปุ่นสมัยที่ 4
รองชนะเลิศ ไทย
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 จีน
สรุปสถิติ ไทยพบญี่ปุ่นในศึกวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชียทั้งหมด 15 ครั้ง ไทยชนะ 5 แพ้ 10 ครั้ง
ศึกชิงแชมป์เอเชียครั้งที่ 20
รอบชิงชนะเลิศ
ไทย VS ญี่ปุ่น
เวลา 14.00 น.
ไทยกับญี่ปุ่น ใครจะครองถ้วยแชมป์เอเชีย 2019
ต้องติดตามเชียร์
ไทยรัฐทีวีช่อง 32 และ SMMTV ถ่ายทอดสด
No comments:
Post a Comment