วอลเลย์บอล ข่าว ผลกีฬา

Saturday, August 17, 2019

(82) วอลเลย์บอลสัพเพเหระ : 7 เซียนกับความยิ่งใหญ่ในศึกวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย ตอนที่ 2

(82) วอลเลย์บอลสัพเพเหระ
(7 เซียน กับ ความยิ่งใหญ่ในศึกวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย ตอนที่ 2)

ความเดิม ตอนที่ 1
ปี ค.ศ.1975 ตรงกับ พ.ศ.2518 ปีกำเนิดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชียครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 
ณ กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

ปี พ.ศ.2518 เหล่าบรรดา 7 เซียนยังเล่นหมากเก็บและวิ่งเปรี้ยวอยู่บนสรวงสวรรค์ ฟ้ายังไม่ส่งลงมาเกิด  ประกอบด้วย

1.วรรณา บัวแก้ว เกิด 2 มกราคม 2524
2.ปลื้มจิตร ถินขาว เกิด 9 พฤศจิกายน 2526
3.วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ เกิด 6 มิถุนายน 2527
4.อำพร หญ้าผา เกิด 19 พฤษภาคม 2528
5.นุศรา ต้อมคำ เกิด 7 กรกฎาคม 2528
6.อรอุมา สิทธิรักษ์ เกิด 13 มิถุนายน 2529
7.มลิกา กันทอง เกิด 8 ม.ค.2530
เชื่อหรือไม่...นับตั้งแต่ปี 1975 ถึงปี 2007 จีนกับญี่ปุ่นผลัดกันครองความยิ่งใหญ่ในโลกวอลเลย์บอลระดับเอเชีย

สวรรค์มีตา ฟ้ามีใจ คงทนไม่ไหว ที่เห็นจีนกับญี่ปุ่นเล่นวอลเลย์บอลเก่งอยู่ฝ่ายเดียว
เหล่าบรรดา 7 เซียน จึงถูกส่งลงมาจากสรวงสวรรค์เพื่อลงมาปราบจีนกับญี่ปุ่น

พวกเธอทำได้สำเร็จครั้งแรกเถลิงแชมป์สุดยิ่งใหญ่ในปี 2009 กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ด้วยการโค่นจีน 3-1 เซต และอีก 4 ปีต่อมา ปี 2013 จ.นครราชสีมาเป็นเจ้าภาพ สาวไทย 7 เซียนผงาดคว้าแชมป์เอเชียไว้ได้เป็นสมัยที่ 2 ล้มญี่ปุ่นอย่างยิ่งใหญ่อลังการ 3-0 เซต
กล่าวได้ว่า แชมป์เอเชีย 2 สมัยปี 2009 และปี 2013 คือยุคทองของ 7 เซียนอย่างแท้จริง ภายใต้การคุมทีมของโค้ชอ๊อต เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร
พร้อมกับการกำเนิดเสือเอเชียตัวที่ 3 นามว่า ไทยแลนด์ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน

สาวไทยสร้างผลงานครองแชมป์เอเชีย 2 สมัย เป็นรองจีนแชมป์ 13 สมัย และญี่ปุ่น 4 สมัย สำหรับ เกาหลีใต้เพื่อนรักไม่เคยรู้จักคำว่า แชมป์ ในรายการนี้
ตอนที่ 2
ยุคที่ 1 ของประวัติศาสตร์การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย
ครั้งที่ 1 ปี 1975 จวบจนถึง ครั้งที่ 9 ปี 1997
เป็นยุคกติกาเปลี่ยนข้างเสิร์ฟ 1 เซต มี 15 คะแนน ระบบ 3 ใน 5 เซต
กติกาเปลี่ยนข้างเสิร์ฟ จะต้องชนะในลูกตัวเองเสิร์ฟถึงจะได้คะแนน

บางครั้งเริ่มแข่งขันกลางสนามทุ่งศรีเมืองของแต่ละจังหวัด  เริ่มเวลา 17.00 น.ไปจบเอาตอนไฟฟ้าดับ การเปลี่ยนข้างเสิร์ฟ ยิ่งมีฝีมือสูสีคูคี่ เปลี่ยนกันเสิร์ฟจนหอบกันไปข้าง กรรมการส่วนมากแทบจะลมใส่ เนื่องจากการแข่งขันยืดเยื้อนั่นเอง
เข้าสู่ยุคที่ 2 ปี 1999-ปัจจุบัน
กติกาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ให้เป็นการเสิร์ฟระบบแรลลี่พอยต์ 1 เซต มี 25 คะแนน ผลแพ้ชนะ 3 ใน 5 เซต

ระบบแรลลี่พอยต์ ภาษาลูกทุ่งเรียกว่า การนับคะแนนแบบตีลูกปิงปอง ฝ่ายไหนทำลูกเสียหรือลูกตาย คือ เสียคะแนน

ยุคที่ 2 ปี 1990 เป็นยุคที่ 7 เซียนเริ่มเล่นวอลเลย์บอลและบางคนติดทีมชาติชุดใหญ่แล้ว
การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย ปี 1999 ครั้งที่ 10 เปิดศักราชวอลเลย์บอลโฉมหน้าใหม่ 1 เซต มี 25 คะแนน ระบบแรลลี่พอยต์ ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ

ปี ค.ศ.1999 ตรงกับ พ.ศ.2542
7 เซียน พี่ใหญ่ วรรณา บัวแก้ว อายุ 18 ปี วรรณาติดทีมชาติชุดใหญ่ปี พ.ศ.2539
น้องรอง ปลื้มจิตร อายุ 16 ปี
น้องสาม วิลาวัณย์ อายุ 15 ปี
น้องสี่ อำพร อายุ 14 ปี
น้องห้า นุศรา อายุ 14 ปี
น้องหก อรอุมา อายุ 13 ปี
น้องเล็กสุด มลิกา อายุ 12 ปี

ทุกคนอยู่ในระหว่างเรียนรู้โลกวอลเลย์บอล บางคนจ่อติดทีมชาติชุดใหญ่ เช่น น้องรอง ปลื้มจิตร ติดทีมชาติชุดใหญ่ปี 2001 อยู่ในชุดอันดับ 3 ชิงแชมป์เอเชียปี 2001 น้องสาม วิลาวัณย์ ติดทีมชาติชุดใหญ่ปี 2001 น้องห้า นุศราติดทีมชาติชุดใหญ่ปี 2002

น้องเล็กสุด มลิกา กันทอง ในวัย 12 ขวบอยู่ชั้นประถมปีที่ 6 พึ่งจะเริ่มเล่นวอลเลย์บอล
รุ่น 7 เซียนเป็นรุ่นที่ไม่รู้จักการเล่นแบบเปลี่ยนข้างเสิร์ฟ
รุ่น 7 เซียนเป็นรุ่นที่เกาะกลุ่มติดทีมชาติชุดใหญ่แทบทุกเวทีทุกสนามในระดับท้องถิ่นต่อเนื่องระดับโลก
รุ่น 7 เซียนเป็นรุ่นที่ผูกพันและเคารพต่อการฝึกซ้อม ไม่เหลิงมัวเมาไปกับลาภยศสรรเสริญ ทกคนใช้ชีวิตแบบสามัญชนและมีความสุขในทุกสนามแข่งขัน
เมื่อถึงเวลาเติบใหญทุกคนทยอยติดทีมชาติจนครบทั้งหมด 7 คน
และประสพความสำเร็จในปี 2009 และปี 2013 ตามที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ 1

รายละเอียดผลการแข่งขัน ปี 2009 และปี 2013 ที่สาวไทยครองแชมป์เอเชียจึงลงให้ครบสมบูรณ์
ส่วนการแข่งขันปีอื่นๆ ได้ตัดทอนรายละเอียดผลการแข่งขันในรอบแรก เกรงว่าเนื้อหาจะยาวมากเกินไป
ศึกชิงแชมป์เอเชียครั้งที่ 10 จบลงด้วยผลงานคุณภาพ จีนยึดแชมป์เป็นสมัยที่ 8 ไทยอยู่ในตารางอันดับ 4 จาก 9 ชาติ
มาดูผลงานของสาวไทย ศึกชิงแชมป์เอเชียครั้งที่ 10 - ครั้งที่ 19
ครั้งที่ 10 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1999 จำนวน 9 ทีม 
ระหว่างวันที่ 21-26 กันยายน 1999 
ฮ่องกงเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 8
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 ญี่ปุ่น
อันดับ 4 ไทย
อันดับ 5 จีนไทเป
อันดับ 6 ออสเตรเลีย
อันดับ 7 อุซเบกิสถาน
อันดับ 8 ฮ่องกง
อันดับ 9 คาซัคสถาน
ครั้งที่ 11 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2001 จำนวน 9 ทีม 
ระหว่างวันที่ 23-30 กันยายน 2001 
จ.นครราชสีมาเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 9
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 ไทย
อันดับ 4 ญี่ปุ่น
อันดับ 5 จีนไทเป
อันดับ 6 ออสเตรเลีย
อันดับ 7 เวียดนาม
อันดับ 8 นิวซีแลนด์
อันดับ 9 ศรีลังกา
ครั้งที่ 12 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2003 จำนวน 10 ทีม 
ระหว่างวันที่ 20-27 กันยายน 2003 
นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 10
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 ไทย
อันดับ 5 จีนไทเป
อันดับ 6 เวียดนาม
อันดับ 7 คาซัคสถาน
อันดับ 8 ฟิลิปปินส์
อันดับ 9 ออสเตรเลีย
อันดับ 10 นิวซีแลนด์
รอบรองชนะเลิศ
วันที่ 26 กันยายน 2003
ไทย แพ้ จีน 0-3 เซต 17-25 19-25 17-25 คะแนน
รอบชิงอันดับ 3
วันที่ 27 กันยายน 2003
ไทย แพ้ เกาหลีใต้ 1-3 เซต 25-23 12-25 12-25 14-25 คะแนน
ปี 2003 เป็นครั้งแรกที่มีพิธีมอบรางวัลยอดเยี่ยมตำแหน่งต่างๆ
รางวัลผู้เล่นทรงคุณค่า จาว รุ่ยรุ่ย จีน
ครั้งที่ 13 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2005 จำนวน 12 ทีม 
ระหว่างวันที่ 1-8 กันยายน 2005 
เมืองไท่ฉาง ประเทศจีนเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 11
รองชนะเลิศ คาซัคสถาน
อันดับ 3 ญี่ปุ่น
อันดับ 4 เกาหลีใต้
อันดับ 5 จีนไทเป
อันดับ 6 ไทย
อันดับ 7 เกาหลีเหนือ
อันดับ 8 เวียดนาม
อันดับ 9 ฟิลิปปินส์
อันดับ 10 ออสเตรเลีย
อันดับ 11 อินเดีย
อันดับ 12 ฮ่องกง

รางวัลผู้เล่นทรงคุณค่า Chu Jinling จีน
เสิร์ฟยอดเยี่ยม อำพร หญ้าผา
เซตยอดเยี่ยม เฝิง คุน
ครั้งที่ 14 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2007 จำนวน 13 ทีม 
ระหว่างวันที่ 5-13 กันยายน 2007 
จ.นครราชสีมาเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ ญี่ปุ่นสมัยที่ 3
รองชนะเลิศ จีน
อันดับ 3 ไทย
อันดับ 4 เกาหลีใต้
อันดับ 5 คาซัคสถาน
อันดับ 6 จีนไทเป
อันดับ 7 เวียดนาม
อันดับ 8 ออสเตรเลีย
อันดับ 9 อินโดนีเซีย
อันดับ 10 ศรีลังกา
อันดับ 11 นิวซีแลนด์
อันดับ 12 อิหร่าน
อันดับ 13 อุซเบกิสถาน
รอบชิงชนะเลิศ 8 ทีม
วันที่ 10 กันยายน 2007
ไทย ชนะ เวียดนาม 3-1 เซต 26-24 25-21 22-25 25-20 คะแนน
วันที่ 11 กันยายน 2007
ไทย ชนะ เกาหลีใต้ 3-2 เซต 22-25 20-25 25-20 25-17 15-13 คะแนน
วันที่ 12 กันยายน 2007
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 2-3 เซต 25-19 25-27 18-25 25-23 11-15 คะแนน
วันที่ 13 กันยายน 2007
ไทย แพ้ จีน 1-3 เซต 33-31 26-28 19-25 21-25 คะแนน

* ครั้งที่ 15 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2009
จำนวน 14 ทีม 
ระหว่างวันที่ 5-13 กันยายน 2009
สนามกวนเงือ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนามเจ้าภาพ
ทีมชนะเลิศ ไทยสมัยที่ 1
รองชนะเลิศ จีน
อันดับ 3 ญี่ปุ่น
อันดับ 4 เกาหลีใต้
อันดับ 5 คาซัคสถาน
อันดับ 6 จีนไทเป
อันดับ 7 เวียดนาม
อันดับ 8 อิหร่าน
อันดับ 9 ออสเตรเลีย
อันดับ 10 ฮ่องกง
อันดับ 11 อินเดีย
อันดับ 12 อุซเบกิสถาน
อันดับ 13 อินโดนีเซีย
อันดับ 14 ศรีลังกา
รอบคัดเลือก กลุ่มดี
ไทยลงสนาม 3 นัด ชนะ 2 แพ้ 1 มี 5 คะแนน
วันที่ 5 กันยายน 2009
ไทย ชนะ อินเดีย 3-0 เซต 25-10 25-15 25-13 คะแนน
วันที่ 6 กันยายน 2009
ไทย แพ้ เกาหลีใต้ 2-3 เซต  23-25 21-25 25-19 25-23 12-15 คะแนน
วันที่ 7 กันยายน 2009
ไทย ชนะ อินโดนีเซีย 3-0 เซต 25-8 25-11 25-19 คะแนน
รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอฟ
วันที่ 9 กันยายน 2009
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 0-3 เซต 16-25 15-25 20-25 คะแนน
วันที่ 10 กันยายน 2009
ไทย ชนะ จีนไทเป 3-0 เซต 25-16 25-9 25-13 คะแนน
รอบ 8 ทีม
วันที่ 11 กันยายน 2009
ไทย ชนะ คาซัคสถาน 3-1เซต 27-25 25-21 24-26 25-22 คะแนน
รอบรองชนะเลิศ
วันที่ 12 กันยายน 2009
ไทย ชนะ ญี่ปุ่น 3-1 เซต 20-25 25-13 25-23 25-21 คะแนน

รอบชิงชนะเลิศ

วันที่ 13 กันยายน 2009
ไทย ชนะ จีน 3-1 เซต 20-25 25-1925-19 25-23 คะแนน

ไทยได้โควต้าไปเล่นรายการวอลเลย์บอลแกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพ เดือนพฤศจิกายน ประเทศญี่ปุ่น
ผู้เล่นทรงคุณค่า อรอุมา สิทธิรักษ์
เซตยอดเยี่ยม นุศรา ต้อมคำ
ตัวรับอิสระยอดเยี่ยม วรรณา บัวแก้ว
ตบยอดเยี่ยม ซูหมิง จีน
บล็อกยอดเยี่ยม ซาโอริ คิมูระ
เสิร์ฟยอดเยี่ยม คิม ยวน กวง เกาหลีใต้
ครั้งที่16 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2011 จำนวน 14 ทีม 

ระหว่างวันที่ 15-23 กันยายน 2011 
กรุงไทเป ประเทศไต้หวันเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 12
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 ไทย
อันดับ 5 จีนไทเป
อันดับ 6 เกาหลีเหนือ
อันดับ 7 เวียดนาม
อันดับ 8 อิหร่าน
อันดับ 9 คาซัคสถาน
อันดับ 10 ออสเตรเลีย
อันดับ 11 อินเดีย
อันดับ 12 ศรีลังกา
อันดับ 13 อินโดนีเซีย
อันดับ 14 เติร์กเมนิสถาน
รอบรองชนะเลิศ
วันที่ 22 กันยายน 2011
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 2-3 เซต 13-25 25-20 18-25 25-23 13-15  คะแนน
รอบชิงอันดับ 3
วันที่ 23 กันยายน 2011
ไทย แพ้ เกาหลีใต้ 2-3 เซต 25-22 24-26 25-23 25-27 13-15 คะแนน

* ครั้งที่ 17 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2013 จำนวน 16 ทีม 
ระหว่างวันที่ 13-21 กันยายน 2013 
จ.นครราชสีมาเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ ไทยสมัยที่ 2
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 จีน
อันดับ 5 คาซัคสถาน
อันดับ 6 เวียดนาม
อันดับ 7 จีนไทเป
อันดับ 8 อิหร่าน
อันดับ 9 ออสเตรเลีย
อันดับ 10 อินโดนีเซีย
อันดับ 11 ฟิลิปปินส์
อันดับ 12 ฮ่องกง
อันดับ 13 มองโกเลีย
อันดับ 14 อินเดีย
อันดับ 15 ศรีลังกา
อันดับ 16 พม่า

มองโกเลีย พม่าเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก
รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอ
ไทยลงสนาม 3 นัด ชนะ 2 แพ้ 1 มี 6 คะแนน
วันที่ 13 กันยายน 2013
ไทย แพ้ คาซัคสถาน 1-3 เซต 24-26 24-26 25-17 20-25 คะแนน
วันที่ 14 กันยายน 2013
ไทย ชนะ ออสเตรเลีย 3-0 เซต  25-16 25-17 25-14 คะแนน
รอบจัดอันดับ กลุ่มอี
วันที่ 16 กันยายน 2013
ไทย ชนะ ญี่ปุ่น 3-1 เซต 25-15 25-23 23-25 30-28 คะแนน
วันที่ 17 กันยายน 2013
ไทย ชนะ เวียดนาม 3-0 เซต 25-11 25-15 25-15 คะแนน
รอบ 8 ทีม
วันที่ 19 กันยายน 2013
ไทย ชนะ จีนไทเป 3-0 เซต 25-13 25-14 25-23 คะแนน
รอบรองชนะเลิศ
วันที่ 20 กันยายน 2013
ไทย ชนะ จีน 3-2 เซต 19-25 25-19 25-22 21-25 16-14 คะแนน

รอบชิงชนะเลิศ

วันที่ 21 กันยายน 2013
ไทย ชนะ ญี่ปุ่น 3-0 เซต 25-22 25-18 25-17 คะแนน

ผู้เล่นทรงคุณค่า วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์
เซตยอดเยี่ยม นุศรา ต้อมคำ
ทำคะแนนยอดเยี่ยม & เสิร์ฟยอดเยี่ยม คิม ยอน คยอง
ตบยอดเยี่ยม จูถิง
ตัวรับอิสระยอดเยี่ยม คิม แฮ-รัน

ครั้งที่ 18 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2015
จำนวน 14 ทีม 
ระหว่างวันที่ 20-28 พฤษภาคม 2015
เมืองเทียนจิน ประเทศจีนเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 13
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 ไทย
อันดับ 4 จีนไทเป
อันดับ 5 เวียดนาม
อันดับ 6 ญี่ปุ่น
อันดับ 7 คาซัคสถาน
อันดับ 8 อิหร่าน
อันดับ 9 ออสเตรเลีย
อันดับ 10 อินเดีย
อันดับ 11 มองโกเลีย
อันดับ 12 ฟิลิปปินส์
อันดับ 13 ฮ่องกง
อันดับ 14 ศรีลังกา

รอบชิงอันดับ 3
วันที่ 21 กันยายน 2013
ไทย ชนะ จีนไทเป 3-0 เซต 25-14 25-14 25-10 คะแนน

ผู้เล่นทรงคุณค่า จูถิง
เซตยอดเยี่ยม เฉิน จิ้งซี
ทำคะแนนยอดเยี่ยม
ตบหัวเสายอดเยี่ยม จูถิง คิม ยอน คยอง
บล็อกยอดเยี่ยม ปลื้มจิตร ถินขาว
ตัวรับอิสระยอดเยี่ยม นัม จี-ย็อน
ครั้งที่ 19 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2017 จำนวน 14 ทีม 
ระหว่างวันที่ 9-17 สิงหาคม 2017 
เมืองเมโทรมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์เจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ ญี่ปุ่นสมัยที่ 4
รองชนะเลิศ ไทย
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 จีน
อันดับ 5 เวียดนาม
อันดับ 6 จีนไทเป
อันดับ 7 คาซัคสถาน
อันดับ 8 ฟิลิปปินส์
อันดับ 9 อิหร่าน
อันดับ 10 ออสเตรเลีย
อันดับ 11 ฮ่องกง
อันดับ 12 นิวซีแลนด์
อันดับ 13 ศรีลังกา
อันดับ 14 มัลดีฟส์

มัลดีฟส์ เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก

รอบรองชนะเลิศ
วันที่ 16 สิงหาคม 2017
ไทย ชนะ เกาหลีใต้ 3-0 เซต 25-20 25-20 25-21 คะแนน

รอบชิงชนะเลิศ
วันที่ 17 สิงหาคม 2017

ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 2-3 เซต 28-26 25-20 16-25 16-25 7-15 คะแนน

ผู้เล่นทรงคุณค่า ริซะ ชินนะเบะ
เซตยอดเยี่ยม นุศรา ต้อมคำ
ตบหัวเสายอดเยี่ยม ชัชชุอร โมกศรี คิม ยอน คยอง
บล็อกยอดเยี่ยม หัตถยา บำรุงสุข นะนะ อิวะซะกะ  ตัวรับอิสระยอดเยี่ยม ปิยะนุช แป้นน้อย

19 ครั้งในศึกชิงแชมป์เอเชีย จึงมีเรื่องราวการต่อสู้ในวิถีเกมการแข่งขันให้คนไทยได้ภาคภูมิใจ

อย่างน้อย ในเชิงกีฬาวอลเลย์บอลระดับเอเชีย สาวไทยคือ เสือ ที่ วัวทุกตัว ต้องเกรงกลัว

No comments:

Post a Comment