วอลเลย์บอล ข่าว ผลกีฬา

Thursday, August 15, 2019

(81) วอลเลย์บอลสัพเพเหระ : 7 เซียน กับ กำเนิดวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย ตอนที่ 1

(81) วอลเลย์บอลสัพเพเหระ
(7 เซียน กับ กำเนิดวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย ตอนที่ 1)

ปี ค.ศ.1975 ตรงกับ พ.ศ.2518 ปีกำเนิดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชียครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 
ณ กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

ปี พ.ศ.2518 เหล่าบรรดา 7 เซียนยังเล่นหมากเก็บและวิ่งเปรี้ยวอยู่บนสรวงสวรรค์ ฟ้ายังไม่ส่งลงมาเกิด ประกอบด้วย

1.วรรณา บัวแก้ว เกิด 2 มกราคม 2524
2.ปลื้มจิตร ถินขาว เกิด 9 พฤศจิกายน 2526
3.วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ เกิด 6 มิถุนายน 2527
4.อำพร หญ้าผา เกิด 19 พฤษภาคม 2528
5.นุศรา ต้อมคำ เกิด 7 กรกฎาคม 2528
6.อรอุมา สิทธิรักษ์ เกิด 13 มิถุนายน 2529
7.มลิกา กันทอง เกิด 8 ม.ค.2530

เชื่อหรือไม่...นับตั้งแต่ปี 1975 ถึงปี 2007 จีนกับญี่ปุ่นผลัดกันครองความยิ่งใหญ่ในโลกวอลเลย์บอลระดับเอเชีย

สวรรค์มีตา ฟ้ามีใจ คงทนไม่ไหว ที่เห็นจีนกับญี่ปุ่นเล่นวอลเลย์บอลเก่งอยู่ฝ่ายเดียว
เหล่าบรรดา 7 เซียน จึงถูกส่งลงมาจากสรวงสวรรค์เพื่อลงมาปราบจีนกับญี่ปุ่น

พวกเธอทำได้สำเร็จครั้งแรกเถลิงแชมป์สุดยิ่งใหญ่ในปี 2009 กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ด้วยการโค่นจีน 3-1 เซต และอีก 4 ปีต่อมา ปี 2013 จ.นครราชสีมาเป็นเจ้าภาพ สาวไทย 7 เซียนผงาดคว้าแชมป์เอเชียไว้ได้เป็นสมัยที่ 2 ล้มญี่ปุ่นอย่างยิ่งใหญ่อลังการ 3-0 เซต
กล่าวได้ว่า แชมป์เอเชีย 2 สมัยปี 2009 และปี 2013 คือยุคทองของ 7 เซียนอย่างแท้จริง ภายใต้การคุมทีมของโค้ชอ๊อต เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร
พร้อมกับการกำเนิดเสือเอเชียตัวที่ 3 นามว่า ไทยแลนด์ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน
สาวไทยสร้างผลงานครองแชมป์เอเชีย 2 สมัย เป็นรองจีนแชมป์ 13 สมัย และญี่ปุ่น 4 สมัย 
สำหรับเกาหลีใต้เพื่อนรักไม่เคยรู้จักคำว่า แชมป์ ในรายการนี้

เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีเพื่อนชาวเกาหลีใต้ มาชวนคุยเรื่องประวัติวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย เราคนไทยสามารถคุยเสียงดังได้เลยว่า เราคือแชมป์เปี้ยนแห่งเอเชีย 2 สมัย

ทว่า ในทางกลับกัน ถ้าเพื่อนชาวเกาหลีใต้ชวนคุยเรื่องประวัติวอลเลย์บอลโอลิมปิก ขอให้เปลี่ยนเรื่องคุยหรือหัวข้อสนทนาใหม่ เนื่องจากเกาหลีใต้เคยไปเล่นโอลิมปิกมาแล้วถึง 11 สมัย แถมยังได้เหรียญทองแดงปี 1976 อีกด้วย ส่วนพี่ไทยยังไม่เคยไปโอลิมปิก
เหตุผลในการเอ่ยถึงเกาหลีใต้ เพราะว่าวันที่ 18-25 สิงหาคม 2562 เค้าจะเป็นเจ้าภาพครั้งแรกจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2019 สนามจัมซิล อินดอร์ ยิมเนเซียม กรุงโซล

ในขณะที่ไทยเคยผ่านการเป็นเจ้าภาพมาแล้ว 5 ครั้ง 5 สมัย 
ปี 1991 กรุงเทพมหานคร 
ปี 1995 จ.เชียงใหม่ 
ปี 2001 จ.นครราชสีมา 
ปี 2007 จ.นครราชสีมา 
และปี 2013 จ.นครราชสีมา มากที่สุดกว่าทุกชาติ จีนเจ้าภาพ 4 ครั้ง ฮ่องกง 3 ครั้ง เวียดนามและฟิลิปปินส์ 2 ครั้ง ญี่ปุ่นออสเตรเลีย ไต้หวันและเกาหลีใต้เจ้าภาพคนละ 1 ครั้ง

ประวัติศาสตร์การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชียต้นกำเนิดการจัดการแข่งขันครั้งแรก กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี 1975 มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันเพียง 5 ประเทศได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

เชื่อหรือไม่...ออสเตรเลียเป็นประเทศต้นกำเนิดจัดการแข่งขันครั้งแรก เข้าร่วมการแข่งขันครบทั้งหมด 19 ครั้งไม่เคยขาดนับตั้งแต่ปี 1975-2017 และไม่เคยได้รับเหรียญรางวัลใดๆ
เป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือส่งทีมนักกีฬาเข้าแข่งขันอย่างเสมอต้นเสมอปลาย โดยไม่เห็นแก่เหรียญรางวัล ควรค่าในการยกย่องยิ่งนัก

ทางด้านไทยเข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรก ปี 1987 ครั้งที่ 3 ของการจัดการแข่งขันและไม่เคยขาดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเป็นชาติที่สามต่อจากจีนและญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ พร้อมกับออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่นเข้าร่วมการแข่งขันครบทุกครั้ง แต่เกาหลีใต้ยังไม่ประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ ดีที่สุดคืออันดับสอง 6 ครั้งและอันดับสาม 6 ครั้ง ส่วนคาซัคสถานได้รองแชมป์ปี 2005
ย้อนรอยอดีตวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย
ยุคกติกาเล่นเปลี่ยนเสิร์ฟ ชนะในลูกตัวเองเสิร์ฟถึงจะได้คะแนน 
1 เซตมี 15 คะแนน 
ครั้งที่ 1-9 (1975-1997)
ผลคะแนน อาจจะไม่ละเอียดมากนักในบางคู่ 

ครั้งที่ 1 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1975 จำนวน 5 ทีม 
ระหว่างวันที่ 17-28 สิงหาคม 1975 
เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียเจ้าภาพ
ทีมชนะเลิศ ญี่ปุ่น
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 จีน
อันดับ 4 ออสเตรเลีย
อันดับ 5 นิวซีแลนด์
ครั้งที่ 2 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1979 จำนวน 7 ทีม 
ระหว่างวันที่ 7-14 สิงหาคม 1979 
ฮ่องกงเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ จีน
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 ออสเตรเลีย
อันดับ 5 อินโดนีเซีย
อันดับ 6 ฮ่องกง
อันดับ 7 อินเดีย
ครั้งที่ 3 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1983 จำนวน 9 ทีม 
ระหว่างวันที่ 10-17 พฤศจิกายน 1983 
เมืองฟุกุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่นเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ ญี่ปุ่นสมัยที่ 2
รองชนะเลิศ จีน
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 จีนไทเป
อันดับ 5 ฟิลิปปินส์
อันดับ 6 อินโดนีเซีย
อันดับ 7 ออสเตรเลีย
อันดับ 8 ฮ่องกง
อันดับ 9 นิวซีแลนด์
ครั้งที่ 4 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1987 จำนวน 11 ทีม 
ระหว่างวันที่ 6-14 มิถุนายน 1987 
เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 2
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 นิวซีแลนด์
อันดับ 5 ไทย
อันดับ 6 อินโดนีเซีย
อันดับ 7 ออสเตรเลีย
อันดับ 8 สิงคโปร์
อันดับ 9 มาเลเซีย
อันดับ 10 ฮ่องกง
อันดับ 11 มาเก๊า

ครั้งที่ 4 ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และมาเก๊า เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก
ผลงาน ไทยลงสนาม 5 นัด ชนะ 3 แพ้ 2
ไทย ชนะ มาเลเซีย 3-0 เซต
ไทย ชนะ สิงคโปร์ 3-0 เซต
ไทย ชนะ อินโดนีเซีย 3-0 เซต
ครั้งที่ 5 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1989 จำนวน 10 ทีม 
ระหว่างวันที่ 30 กันยายน-8 ตุลาคม 1989 
ฮ่องกงเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 3
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 ญี่ปุ่น
อันดับ 4 จีนไทเป
อันดับ 5 เกาหลีเหนือ
อันดับ 6 ไทย
อันดับ 7 ออสเตรเลีย
อันดับ 8 ฮ่องกง
อันดับ 9 อินโดนีเซีย
อันดับ 10 มาเก๊า

เกาหลีเหนือเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก
ผลงาน รอบจัดอันดับ กลุ่มเอ
ไทยลงสนาม 4 นัด ชนะ 2 แพ้ 2 มี 6 คะแนน
รอบชิงอันดับ 5-8
ไทย ชนะ ออสเตรเลีย 3-2 เซต
ไทย แพ้ เกาหลีเหนือ 0-3 เซต
ครั้งที่ 6 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1991 จำนวน 14 ทีม 
ระหว่างวันที่ 14-21 กันยายน 1991 กรุงเทพมหานครเจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 4
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 เกาหลีเหนือ
อันดับ 5 จีนไทเป
อันดับ 6 ออสเตรเลีย
อันดับ 7 ไทย
อันดับ 8 เวียดนาม
อันดับ 9 อินโดนีเซีย
อันดับ 10 นิวซีแลนด์
อันดับ 11 ฮ่องกง
อันดับ 12 ศรีลังกา
อันดับ 13 ฟิลิปปินส์
อันดับ 14 อินเดีย

เวียดนามและศรีลังกาเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก
ผลงาน รอบแรก กลุ่มเอ
ไทยลงสนาม 2 นัด ชนะ 2 แพ้ 0 มี 4 คะแนน
รอบก่อนรอบชนะเลิศ กลุ่มอี
ไทยแข่งขัน 3 ชนะ 1 แพ้ 2 มี 4 คะแนน
รอบจัดอันดับ 5-8
ไทย แพ้ ออสเตรเลีย 2-3 เซต
รอบชิงอันดับ 7
ไทย ชนะ เวียดนาม 3-? เซต ไม่มีข้อมูลชนะกี่เซต
ครั้งที่ 7 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1993 จำนวน 14 ทีม 
ระหว่างวันที่ 24-30 กรกฎาคม 1993 
เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนเจ้าภาพ
ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 5
รองชนะเลิศ ญี่ปุ่น
อันดับ 3 เกาหลีใต้
อันดับ 4 ไทย
อันดับ 5 จีนไทเป
อันดับ 6 คาซัคสถาน
อันดับ 7 อุซเบกิสถาน
อันดับ 8 อินโดนีเซีย
อันดับ 9 เกาหลีเหนือ
อันดับ 10 ออสเตรเลีย
อันดับ 11 นิวซีแลนด์
อันดับ 12 ฮ่องกง
อันดับ 13 ฟิลิปปินส์
อันดับ 14 ศรีลังกา

คาซัคสถานและอุซเบกิสถานเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก
ผลงาน รอบแรก กลุ่มบี
ไทยลงสนาม 2 นัด ชนะ 1 แพ้ 1 มี 3 คะแนน
ไทย ชนะ นิวซีแลนด์ 3-0 เซต 
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 0-3 เซต 4-15 2-15 1-15 คะแนน
รอบจัดอันดับ กลุ่ม เอฟ
ไทยแข่งขัน 3 ชนะ 2 แพ้ 1 มี 5 คะแนน
ไทย ชนะ จีนไทเป 15-3 15-8 15-3 คะแนน
ไทย ชนะ คาซัคสถาน 3-1 เซต
รอบ 4 ทีมสุดท้าย
วันที่ 29 กรกฎาคม 1993
ไทย แพ้ จีน 0-3 เซต
วันที่ 30 กรกฎาคม 1993
ไทย แพ้ เกาหลีใต้ 0-3 เซต
ไทยจบอันดับ 4 เป็นอันดับที่ดีที่สุด นับตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขันปี 1987-1993
ครั้งที่ 8 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1995 จำนวน 9 ทีม 
ระหว่างวันที่ 25 กันยายน-2 ตุลาคม 1995 
จังหวัดเชียงใหม่เจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 6
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 ญี่ปุ่น
อันดับ 4 ไทย
อันดับ 5 จีนไทเป
อันดับ 6 ออสเตรเลีย
อันดับ 7 นิวซีแลนด์
อันดับ 8 ฮ่องกง
อันดับ 9 ฟิลิปปินส์
ผลงาน รอบแรก กลุ่มเอ
ไทยลงสนาม 4 นัด ชนะ 2 แพ้ 2 มี 6 คะแนน
ไทย ชนะ นิวซีแลนด์ 3-0 เซต 15-1 15-3 15-1 คะแนน
รอบ 4 ทีมสุดท้ายชิงชนะเลิศ
วันที่ 1 ตุลาคม 1995
ไทย แพ้ จีน ?...3 เซต ไม่มีข้อมูลจำนวนเซต
วันที่ 2 ตุลาคม 1995
ไทย แพ้ ญี่ปุ่น 0-3 เซต
ไทยจบอันดับ 4 เป็นสมัยที่ 2 นับตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขันปี 1987-1995
ครั้งที่ 9 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 1997 ครั้งที่ 9 จำนวน 9 ทีม 
ระหว่างวันที่ 21-28 กันยายน 1997 
กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์เจ้าภาพ

ทีมชนะเลิศ จีนสมัยที่ 7
รองชนะเลิศ เกาหลีใต้
อันดับ 3 ญี่ปุ่น
อันดับ 4 จีนไทเป
อันดับ 5 ไทย
อันดับ 6 อุซเบกิสถาน
อันดับ 7 ออสเตรเลีย
อันดับ 8 ฟิลิปปินส์
อันดับ 9 ฮ่องกง
ผลงาน รอบจัดอันดับ กลุ่มบี
ไทยลงสนาม 4 นัด ชนะ 2 แพ้ 2 มี 6 คะแนน
ไทย ชนะ ฮ่องกง 3-0 เซต 15-2 15-3 15-3 คะแนน
ไทย ชนะ อุซเบกิสถาน 3-0 เซต 15-7 15-5 15-4 คะแนน
ไทย แพ้ จีน 0-3 เซต 11-15 8-15 16-18 คะแนนไทย แพ้ เกาหลีใต้ 1-3 เซต 15-7 12-15 6-15 13-15 คะแนน
รอบชิงอันดับ 5-8
ไทยแข่งขัน 3 ชนะ 3 แพ้ 0 มี 6 คะแนน
ไทย ชนะ ฟิลิปปินส์ 3-0 เซต 15-7 15-4 15-10 คะแนน
ไทย ชนะ ออสเตรเลีย 3-0 เซต 15-1 15-4 15-0 คะแนน
สรุปสถานการณ์ยุคแรก กติกาแบบเปลี่ยนเสิร์ฟ สาวไทยในยุคแรก มีการพัฒนาการดีขึ้น ในครั้งที่ 9 สาวไทยต่อกรกับจีนแบบสนุกสูสีมากขึ้นและเริ่มแชร์เซตได้จากเกาหลีใต้
การจบอันดับที่ 4 ในปี 1993 และ1995 ทำให้ทีมไทยเริ่มขยับตัวเข้ามาเป็นเสือตัวที่ 4 ของเอเชีย

ความน่าสะพรึงกลัวของสาวไทย กำลังก่อตัวในยุคที่ 2 กติกาแบบนับคะแนนแรลลี่พอยต์หรือแบบตีลูกปิงปอง นับทุกลูกที่ลูกตาย

สาวไทยค่อยๆฝึกปรือวิทยายุทธ ก้าวเข้ามาผงาดแชมป์เอเชีย 2 สมัยได้สำเร็จ

No comments:

Post a Comment