วอลเลย์บอล ข่าว ผลกีฬา

Friday, May 15, 2020

(282) วอลเลย์บอลสัพเพเหระ : พจนานุกรม กีฬาวอลเลย์บอล

(282) วอลเลย์บอลสัพเพเหระ
( พจนานุกรม กีฬาวอลเลย์บอล )

ศัพท์ กีฬา

สำหรับ คนอยู่ในวงการ ล้วนรับรู้ 
ถึง ศัพท์เฉพาะทาง

วิศวกรรม การแพทย์ วิทยาศาสตร์ การกีฬา 
ล้วนมีศัพท์เฉพาะทาง

ถ้าเอ่ยชื่อ กีฬารักบี้ ทุกคนรู้จัก
แต่พอเอ่ย คำว่า นักปล้ำลูกหนำเลี๊ยบ
หลายคน อยู่นอกวงการ อาจจะงงๆ มันคือ กีฬาอะไร

โดยข้อเท็จจริงแล้ว 
นักปล้ำลูกหนำเลี๊ยบ ก็คือ กีฬารักบี้

โดยลูกหนำเลี๊ยบ รูปทรงเป็นวงรี
จึงเป็นที่มา ของการเปรียบเปรย 
ลูกรักบี้ มีลักษณะรูปทรงคล้ายลูกหนำเลี๊ยบนั่นเอง

นักปล้ำลูกหนำเลี๊ยบ จึงเป็นคำศัพท์เฉพาะทาง 
ของคนในวงการกีฬารักบี้
ในวงการวอลเลย์บอล
คนในแวดวง จะมีศัพท์เฉพาะ รับรู้กันเฉพาะกลุ่ม

เวลานักกีฬาอยู่ในสนาม
เราจะเห็น สัญลักษณ์แปลกๆ
นั่นหมายความว่า นักกีฬารับรู้ความหมายกัน

บ่อยครั้ง มีการตะโกนเสียงโหวกเหวก
เป็นเสียงตะโกนของโค้ช 
สั่งให้นักกีฬาเล่น แบบ X แบบ  Y

มือเซต และ นักกีฬา 
จะแปลความหมายได้ถูกต้อง
ด้วยเป็น ศัพท์เฉพาะทาง

ไล่เรียง ศัพท์ในวงการวอลเลย์บอล
นับตั้งแต่ บรรทัดต่อไปนี้
ขอยกเครดิตทั้งหมดให้

กฤติกร ธนมหามงคล ผู้ก่อตั้ง MainStand 
เจษฎา บุญประสม เจ้าของบทความ 
กับ 
ปลั๊ก - ภุมเรศ เอี่ยมเชย 
นักพากย์วอลเลย์บอลชั้นแนวหน้าของไทย

จะมาอธิบายศัพท์กีฬาวอลเลย์บอลที่คุณควรรู้ 
เพื่อที่เวลาชมเกมตบลูกยาง 
หรือลงไปเล่นในสนามจะได้สนุกและเข้าใจมากขึ้น
LIBERO

แฟนฟุตบอลยุคเก่าๆ 
อาจจะคุ้นเคยกับคำในภาษาอิตาลี 
ที่แปลว่า "อิสระ" 

จากตำแหน่งที่ โลธาร์ มัทเธอุส 
หรือ มัทธีอัส ซามเมอร์
 เล่น คือตำแหน่งปราการหลังตัวกลาง 
ที่สามารถขึ้นไปเล่นเกมรุกได้ตามจังหวะเกม

 แต่สำหรับกีฬาวอลเลย์บอล 
ตำแหน่งลิเบโร่ถูกนิยามว่า "ตัวรับอิสระ" 
ซึ่งความอิสระที่ว่านั้นก็คือ สามารถเปลี่ยนตัวเข้าออกได้ตลอดเวลา 

โดยไม่ต้องรอให้เกมหยุดเสียก่อน
 โดยเข้ามาเเทนใครต้องเปลี่ยนออกกับคนนั้น 
ลงมาเล่นก่อน 1 เเต้มจึงจะสามารถออกไปได้  
ซึ่งช่วยให้ทีมสามารถปรับเกมรับได้ง่ายขึ้น 
ไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนตัวบ่อยๆ

ถึงกระนั้นตำแหน่งลิเบโร่ของวอลเลย์บอล 
ก็มีความแตกต่างจากฟุตบอลอย่างมาก 

โดยผู้เล่นตำแหน่งนี้ในกีฬาวอลเลย์บอล 
จะสามารถเล่นได้แค่เกมรับอย่างเดียว 
ไม่สามารถวนตำแหน่งไปอยู่แดนหน้า
เหมือนตำแหน่งอื่นๆ 

เล่นเกมรุกไม่ได้ 
เสิร์ฟไม่ได้ 
ไม่สามารถขึ้นไปบล็อกหรือตบในแดนหน้าได้ 

แต่ยังสามารถเซตและยืนตบได้
หากตัวอยู่ในแดนหลัง

จุดเด่นอีกอย่างของผู้เล่นตำแหน่งนี้ก็คือ 
พวกเธอจะใส่เสื้อสีที่แตกต่างจากผู้เล่นคนอื่นๆ ในทีม 

ซึ่งตัวอย่างของตำแหน่งนี้ 
ที่แฟนกีฬาชาวไทยคุ้นเคยก็หนีไม่พ้น 
ปิยะนุช แป้นน้อย วรรณา บัวเเก้ว และ สุพัตรา ไพโรจน์
หัวเสา

นี่คือคำเรียกภาษาไทย 
ของตำแหน่งการเล่น Outside Spiker (OS) 
หรือ Wing Spiker (OS) 

ซึ่งหากจะแปลตรงตัวก็คือตำแหน่ง 
"ตัวตบด้านนอก" 
ซึ่งหากเรียกตำแหน่งนี้ว่า ตัวโค้ง ก็ไม่ผิด 

โดยมือเด็ดของไทยในตำแหน่งนี้คือ 
อรอุมา สิทธิรักษ์ กับ บุ๋มบิ๋ม - ชัชชุอร โมกศรี

ส่วนคำถามที่ว่าทำไมถึงเรียกผู้เล่นตำแหน่งนี้ว่า 
หัวเสา หรือ ตัวโค้ง 

ก็เนื่องมาจากลักษณะการเล่นนั้น 
จะเป็นการตี (หรือตบ) บอลโค้ง 
มาลงบริเวณหัวเสา 
จุดซึ่งผู้ตัดสินที่ 1 ผู้ยืนทำหน้าที่บนแท่นนั่นเอง 

(ส่วนจุดที่ผู้ตัดสินซึ่งยืนเป่าด้านล่างทำหน้าที่ 
จะเรียกว่า หัวเสาล่าง)
บอลเร็ว

ศัพท์นี้คือคำเรียกในภาษาไทยของผู้เล่นตำแหน่ง Middle Blocker (MB) 
หรือ "ตัวบล็อกตรงกลาง" 

ซึ่งสาเหตุที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะ 
ตำแหน่งนี้จะต้องคิดไวทำไว 
ตั้งรับและโจมตีด้วยความรวดเร็ว

 ไม่ว่าจะเป็นการบล็อกบอลตบ 
หรือตบบอลที่ลอยสั้นๆ มาจากมือเซ็ตอย่างว่องไว 

ซึ่งตัวอย่างผู้เล่นตำแหน่งนี้ 
ที่คุ้นตาแฟนๆ ชาวไทยก็คือ 
หน่อง - ปลื้มจิตร ถินขาว อดีตกัปตันทีม 
(เจ้าของปลอกแขน 
ในปัจจุบันคือ ซาร่า - นุศรา ต้อมคำ) 
และ ทัดดาว นึกแจ้ง

ด้วยตำแหน่งการยืน 
ที่มักจะต้องยืนตรงกลางแถวหน้า 
ตลอดจนสไตล์การเล่น ตำแหน่ง MB หรือ บอลเร็ว 

จึงอาจเรียกว่า บอลกลาง หรือ บอลสั้น ก็ได้ 
ซึ่งทุกชื่อก็ความหมายเดียวกัน
บีหลัง

นี่คือคำเรียกภาษาไทย 
ของตำแหน่ง Opposite spiker (OS) 
หรือชื่อทางการคือ "ตัวตบตรงข้ามหัวเสา" 

โดยผู้เล่นที่ยืนในตำแหน่งนี้มักจะยืนทแยงมุม 
หรือไขว้กับตัวเซ็ต 

ซึ่งผู้เล่นของไทยที่แฟนกีฬาจำขึ้นชื่อ 
ในตำแหน่งนี้ก็คือ มลิกา กันทอง

จุดหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของตำแหน่งนี้ก็คือ
 การเข้าทำ 
มักจะเกิดขึ้นจากตำแหน่งหัวเสาฝั่งขวา 
หรือตำแหน่ง 2 

ซึ่งถือเป็นหนึ่งในที่มา 
ซึ่งทำให้ตำแหน่งดังกล่าวถูกเรียกว่าบีหลัง
ขุด

คำว่าขุด หากแปลเป็นภาษาอังกฤษก็คือ Dig 
ซึ่งเมื่อดูภาพจากในสนามแล้วก็ถือว่าตรงตัวจริงๆ 

โดยผู้เล่นจะต้องงัดลูกบอล 
ที่ถูกตบจนเกือบลงขึ้นมา 
เพื่อเซ็ตแล้วตีโต้กลับไป 
ถือเป็นหนึ่งในการเล่นเกมรับที่สำคัญ 

จนสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติหรือ FIVB 
ต้องบันทึกสถิติการขุดของผู้เล่นไว้ด้วย
ไหลหลัง

ไหลหลัง นั้นคือชื่อเรียกสไตล์การเล่นบอลเร็ว 
ที่มีลักษณะการจ่ายบอล 
จากตัวเซตไหลออกไปทางด้านหลัง 
หรือหน้าห่างจากตัวเซต 

ต่างจากบอลเร็วทั่วไป 
ที่บอลจะอยู่ใกล้ๆ กับตัวเซต 
ซึ่งเพื่อนร่วมทีมจะต้องวิ่งตามไปตบทำคะแนน 

โดยผู้เล่นที่เล่นในสไตล์นี้ได้ดีของไทยก็คือ 
อำพร หญ้าผา และ ปลื้มจิตร์ ถินขาว 
ที่จับจังหวะกับตัวเซตอย่าง นุศรา ต้อมคำ 
แบบไม่ต้องมองตาก็รู้ใจ
บอลแทรก / บีแทรก

บอลแทรก หรือ บีแทรก 
คือรูปแบบการบุกที่ใช้ผู้เล่น 2 คน 
ในการตบทำคะแนน 

ซึ่งจะมีคนหนึ่งเป็นตัวหลอก 
และมีอีกคนแทรกเข้ามาตี 

โดยตำแหน่งบอลเร็วจะเป็นตัวหลอก 
วิ่งไปทางด้านหน้าหรือด้านหลังของตัวเซต 
เพื่อให้เกิดช่องว่าง ที่ตัวตบซึ่งขยับมาจากข้างนอกจะแทรกเข้ามาตีตรงกลาง 

ซึ่งคนที่เล่นสไตล์นี้ได้อย่างโดดเด่นคือ 
กิ๊ฟท์ - วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ 
อดีตกัปตันทีมชาติไทย
บอล X

บอล X เป็นอีกรูปแบบของการเล่นเกมรุกบอลเร็ว 
ซึ่งลักษณะการขึ้นตบก็จะคล้ายกับบอลเร็ว

 แต่บอลประเภทนี้ 
จะให้ตัวเซตจ่ายแบบพุ่งๆ 
ไปยังตำแหน่งที่ตัวตบบอลเร็วรออยู่ห่างออกไป 

ซึ่งบางครั้งอาจจะจ่ายห่างจากตัวเซต 
ถึง 2 เมตรเลยทีเดียว
บอล Y

บอล Y คือสไตล์การเล่นเกมบุกอีกแบบ 
ซึ่งจะเล่นตรงหัวเสาเป็นหลัก

 และแน่นอนว่าผู้เล่นตำแหน่งหัวเสา 
จะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก

 โดยความแตกต่างของบอล Y 
จากบอลหัวเสาทั่วไปคือความสูงของบอล
 และการเดินทางของลูกที่ไวกว่าเดิม

นี่คือสไตล์การเล่นที่ทีมจากทวีปเอเชียส่วนใหญ่ 
โดยเฉพาะ ไทย และ ญี่ปุ่น ชอบใช้

 เนื่องจากจุดอ่อนทางสรีระซึ่งไม่อาจยกบอลสูงๆ 
สู้ตัวบล็อกใหญ่ๆ ได้ ก็อาศัยความว่องไว
 ปรับจังหวะการขึ้นตีให้เร็วขึ้นแทน
บอลสามเมตร

นี่คือการเล่นเกมบุก 
ซึ่งตัวหลักจะอยู่ที่ผู้เล่นแดนหลัง

 โดยจะต้องกระโดดข้าม 
เส้นตรงกลางสนามของฝั่งตัวเองมาตบบอล 

เนื่องจากกฎข้อหนึ่งได้ระบุไว้ว่า 
ผู้เล่นในแดนหลังจะเล่นลูกเหนือตาข่าย 
ในแดนหน้าไม่ได้ 

จึงต้องกระโดดข้ามเส้นดังกล่าวมา 
เพื่อไม่ให้ถูกจับฟาวล์นั่นเอง

อันที่จริง 
การบุกลักษณะนี้ 
มีคำศัพท์นิยามของมันอยู่ว่า 
"บอลตบแดนหลัง" 
หรือ "บอลตบแถวหลัง"
 (Back row)

 แต่สาเหตุสำคัญ 
ที่ทำให้ในไทยเรียกกันว่า 
"บอลสามเมตร" หรือ "สามเมตร" 

ก็เนื่องมาจาก
 เส้นเเบ่งเเดนตรงกลางในฝั่งตัวเอง 
จะมีระยะห่างจากตาข่าย 3 เมตร 
จนเรียกกันในอีกชื่อว่า เส้นสามเมตร นั่นเอง

No comments:

Post a Comment